เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

เป็นพาหะธาลัสซีเมียมีลูกได้ไหม? มีโอกาสแค่ไหนที่ลูกจะป่วย

พาหะธาลัสซีเมียมีลูกได้ไหม ลูกจะติดไหม

นอกจากความปรารถนาที่จะมีลูกน้อยมาเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์แล้ว เชื่อว่าอีกหนึ่งความต้องการของพ่อแม่มือใหม่ทุกคู่ คือการที่ลูกมีสุขภาพแข็งแรงและสมบูรณ์ แต่หากพ่อหรือแม่ เป็น ‘พาหะธาลัสซีเมีย’ ความฝันที่จะมีลูกน้อยที่สุขภาพดี ก็คงกลายเป็นความกังวลใจ หากใครกำลังเป็นห่วงว่า ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียจะมีลูกได้ไหม? และจะมีวิธีป้องกันอย่างไรเพื่อไม่ให้ลูกต้องเกิดมาพร้อมกับโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพ? เราสรุปไว้ให้แล้ว

 

‘พาหะธาลัสซีเมีย’ อันตรายอย่างไร เรื่องที่พ่อแม่มือใหม่ต้องรู้

โรคธาลัสซีเมีย หรือ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติในการสังเคราะห์ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โปรตีนสำคัญในเม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย แต่เมื่อฮีโมโกลบินมีปริมาณน้อยก็จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางเรื้อรัง ส่งผลให้ความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงร่างกายลดลง จนทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และตัวเหลือง

ซึ่งโรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูก ผู้ที่มียีนแฝง (พาหะ) คือ บุคคลที่มีลักษณะและสุขภาพดี แต่สามารถถ่ายทอดโรคนี้ต่อให้ลูกได้ ดังนั้นหากพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือเป็นพาหะธาลัสซีเมีย ก็มีโอกาสที่จะส่งต่อโรคทางพันธุกรรมนี้ไปสู่ลูกน้อยได้ โดยมีอัตราเสี่ยงดังนี้

  • พ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียทั้งคู่ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย 100%
  • พ่อและแม่เป็นพาหะธาลัสซีเมียทั้งคู่ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 50% , มีโอกาสที่จะปกติ 25% และมีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคอีก 25%
  • พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมีย และอีกฝ่ายปกติ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 100% แต่จะไม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเอง
  • พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคธาลัสซีเมีย และอีกฝ่ายเป็นพาหะ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย 50% และเป็นพาหะ 50%
  • พ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นพาหะธาลัสซีเมีย และอีกฝ่ายปกติ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นพาหะธาลัสซีเมีย 50% และมีโอกาสที่จะปกติ 50%

 

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นธาลัสซีเมีย

การรักษาธาลัสซีเมียจะขึ้นอยู่กับชนิดและระดับความรุนแรงของโรค โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาแนวทางในการรักษา ซึ่งหากใครที่เป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง จะต้องเข้ารับการรักษาและมีการติดตามอาการเป็นระยะ แต่สำหรับผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้วยการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง, งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม, หลีกเลี่ยงการทำงานหนักและการออกกำลังกายอย่างหักโหม, ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่อง, เข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบถ้วน รวมถึงเข้ารับการตรวจคัดกรองก่อนแต่งงาน เพื่อวางแผนมีลูกอย่างปลอดภัย และป้องกันการส่งต่อพาหะธาลัสซีเมียไปยังลูกหลาน

 

ยับยั้งการส่งต่อโรคทางพันธุกรรม ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว

เนื่องจากธาลัสซีเมียเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็อาจไปถึงขั้นตอนตรวจเลือดเพื่อฝากครรภ์ ซึ่งปัญหานี้อาจทำให้พ่อแม่มือใหม่กังวลว่า ถ้าเป็นพาหะธาลัสซีเมียจะมีลูกได้ไหม? คำตอบก็คือ สามารถมีได้ แต่จะต้องทำการตรวจคัดกรองตั้งแต่ก่อนวางแผนตั้งครรภ์ อย่างที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น เพื่อให้แพทย์พิจารณาว่าเป็นพาหะที่รุนแรงหรือไม่ มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหนกับการตั้งครรภ์

แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้า ในปัจจุบันนี้จึงมีวิธีที่จะช่วยยับยั้งการส่งต่อโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูกได้ นั่นก็คือ ‘การทำเด็กหลอดแก้ว’ ร่วมกับ ‘การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน’ เพื่อหาความผิดปกติในระดับยีน ก่อนนำไปฝังในครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้โรคธาลัสซีเมียถ่ายทอดไปถึงลูกน้อย

 

เตรียมความพร้อมสู่การตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ VFC Center

จบความกังวลที่ว่า เป็นพาหะธาลัสซีเมียมีลูกได้ไหม ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ว และการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ที่ VFC Center ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรที่ให้บริการโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาคู่สมรสที่เผชิญปัญหามีบุตรยาก และคู่สมรสที่ต้องการวางแผนมีลูกน้อยอย่างปลอดภัย
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter

 

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.