ไมโครไบโอมในมดลูก คือตัวแปรที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์
การจะตั้งครรภ์ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยหลากหลายปัจจัยประกอบกัน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการตรวจไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อดูว่ามีความสมดุลหรือไม่ เพราะหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะการมีบุตรยากตามมาได้ ดังนั้นเพื่อช่วยให้แผนการมีบุตรเป็นไปอย่างที่คู่สมรสต้องการ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูก ทั้งหน้าที่และประโยชน์ให้มากขึ้น เพื่อรักษาให้เกิดความสมดุล ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร? ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูก (Uterine Microbiome) คือการสะสมของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในโพรงมดลูก ซึ่งประกอบไปด้วยแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ซึ่งมีทั้งชนิดที่เป็นประโยชน์และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ในสภาวะปกติ ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีหน้าที่สำคัญหลายประการ ได้แก่ การป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย การสร้างสมดุลของกรดและด่างในเนื้อเยื่อ การสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูก มีประโยชน์ต่อการมีบุตรอย่างไร? ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกมีประโยชน์ต่อการมีบุตรในหลายประการ ดังนี้ สร้างเสริมให้ฮอร์โมนเกิดความสมดุล หนึ่งในหน้าที่สำคัญของไมโครไบโอม คือการช่วยรักษาสมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมรอบเดือนและการเตรียมความพร้อมของมดลูกสำหรับการรับตัวอ่อน โดยจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ฮอร์โมนเหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ไมโครไบโอม มีส่วนสนับสนุนกระบวนการฝังตัวของตัวอ่อน (Embryo Implantation) โดยเมื่อตัวอ่อนเคลื่อนที่เข้าสู่โพรงมดลูก ไมโครไบโอมที่มีความสมดุลจะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฝังตัว ด้วยการลดการอักเสบและสร้างเสริมปัจจัยที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกมีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยทำหน้าที่ช่วยควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในโพรงมดลูกให้เหมาะสม อีกทั้งการมีจุลินทรีย์ที่ดี ยังจะช่วยลดการอักเสบและป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการตั้งครรภ์ที่แข็งแรงสมบูรณ์ ทั้งนี้ หากไมโครไบโอมไม่สมดุล อาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในโพรงมดลูก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการฝังตัวของตัวอ่อนและอาจนำไปสู่ภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน การตรวจวิเคราะห์ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูกมีอะไรบ้าง? ปัจจุบันมีการพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ไมโครไบโอมในเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยากที่อาจเกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์เหล่านี้ โดยวิธีการที่นิยม คือ การตรวจตัวอย่างจากโพรงมดลูก (Endometrial sampling) การตรวจนี้ เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษ สอดเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อในปริมาณเล็กน้อย มาทำการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ และตรวจหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ข้อมูลแม่นยำ ขั้นตอนการตรวจใช้เวลาไม่นาน และมีความปลอดภัยสูง แม้ว่าอาจมีความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยระหว่างการตรวจ หลังจากการเก็บตัวอย่างมาเพาะเลี้ยง จะนำไปเข้าสู่กระบวนการหาชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ โดยแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ การใช้เทคโนโลยี PCR (Polymerase Chain Reaction) เป็นการนำตัวอย่างมาตรวจด้วยเทคโนโลยี PCR...
การวินิจฉัยภาวะไม่มีตัวอสุจิ และทางเลือกการรักษาที่เหมาะสม
ภาวะมีบุตรยาก เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อคู่สมรสหลายคู่ โดยหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหานี้ คือภาวะ Azoospermia หรือ ภาวะที่ผู้ชายไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ หรือมีอสุจิผิดปกติ ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรให้สำเร็จ บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสาเหตุ อาการ และทางเลือกการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผ่าตัดเก็บอสุจิ ที่ช่วยเปิดโอกาสใหม่ให้มีบุตรได้ในอนาคต Azoospermia คืออะไร? Azoospermia คือ ภาวะไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้ ภาวะนี้แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ Obstructive Azoospermia (ไม่มีตัวอสุจิจากการอุดตัน) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อมีการอุดตันในท่อนำอสุจิ ซึ่งเป็นท่อที่ทำหน้าที่นำอสุจิจากอัณฑะไปยังท่อปัสสาวะ ในกรณีนี้อัณฑะยังคงสามารถผลิตนำเชื้อได้ตามปกติ แต่ไม่มีตัวอสุจิออกมา เนื่องจากท่อนำอสุจิถูกอุดตัน Non-obstructive Azoospermia (ภาวะผลิตอสุจิต่ำ หรือไม่มีการผลิต) ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่ออัณฑะไม่สามารถผลิตอสุจิได้ตามปกติ โดยอาจเกิดจากปัญหาฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอสุจิ หรืออาจเป็นผลจากการที่เนื้อเยื่อในอัณฑะไม่ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ไม่สามารถผลิตอสุจิได้ หรือผลิตอสุจิในปริมาณที่น้อยมาก สัญญาณและอาการของภาวะไม่มีตัวอสุจิและอสุจิผิดปกติ ภาวะไม่มีตัวอสุจิหรืออสุจิผิดปกติอาจไม่แสดงอาการใด ๆ เลยในบางราย และมักถูกพบเมื่อตรวจหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก อย่างไรก็ตาม ในบางรายอาจมีอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ความผิดปกติของฮอร์โมนหรือการทำงานของระบบสืบพันธุ์ เช่น ฮอร์โมนเพศชายต่ำ ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง หรือมีลักษณะความเป็นเพศชายลดลง เช่น หนวดเคราบางลง เป็นต้น สาเหตุของ Azoospermia และภาวะอสุจิผิดปกติ การอุดตันของท่อนำอสุจิ ท่อนำอสุจิเป็นท่อที่มีหน้าที่นำอสุจิจากอัณฑะไปยังท่อปัสสาวะและออกจากร่างกายหากมีการหลั่งออกมา การอุดตันในท่อนำอสุจิสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ : การติดเชื้อที่ระบบสืบพันธุ์ เช่น เยื่อหุ้มอัณฑะอักเสบ (Orchitis) หรือ การติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STDs) อาจทำให้ท่ออสุจิอุดตัน การบาดเจ็บ : การบาดเจ็บที่บริเวณอัณฑะหรือท่อนำอสุจิจากอุบัติเหตุหรือการผ่าตัดในบริเวณนั้น ๆ การผ่าตัด...
Prolactin คืออะไร ? ฮอร์โมนสำคัญที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์
หลายคู่รักที่วางแผนมีบุตร มักให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพทั่วไป แต่สิ่งหนึ่งที่มักอาจถูกมองข้ามไป คือการควบคุมระดับ "ฮอร์โมนโปรแลคติน" ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์ เนื่องจากหากฮอร์โมนประเภทนี้มีระดับที่สูงกว่าปกติ อาจส่งผลต่อความผิดปกติของการตกไข่ ทำให้ตั้งครรภ์ได้ยากขึ้น และแม้ว่าภาวะโปรแลคตินสูงจะไม่ใช่สาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีบุตรยาก แต่ก็เป็นปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม การทำความเข้าใจว่า โปรแลคตินสูงเกิดจากสาเหตุใด และควรมีแนวทางดูแลอย่างไร เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จได้อย่างมั่นใจ โปรแลคติน (Prolactin) คืออะไร? โปรแลคตินคือฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่หลักในการกระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมหลังคลอด ซึ่งระดับโปรแลคตินจะสูงในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตรตามธรรมชาติ แต่หากระดับโปรแลคตินสูงในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ จะไปยับยั้งการหลั่งฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) และ LH (Luteinizing Hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่กระตุ้นการทำงานของรังไข่ ทำให้ไข่ไม่ตก และส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ได้ ระดับโปรแลคตินปกติ ผู้หญิง : ประมาณ 15-25 ng/mL (หรือไม่เกิน 25 mcg/L) โดยระดับอาจแปรผันตามรอบเดือน ผู้ชาย : ปกติจะต่ำกว่าผู้หญิง โดยไม่เกิน 20 mcg/L โปรแลคตินสูง เกิดจากอะไร? ภาวะโปรแลคตินสูงสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ดังนี้ สาเหตุทางพยาธิวิทยา เนื้องอกต่อมใต้สมอง (Prolactinoma) ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โรคไทรอยด์ โดยเฉพาะภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism) ภาวะไตวายเรื้อรังที่ลดการกรองโปรแลคติน สาเหตุจากพฤติกรรมหรือปัจจัยชั่วคราว ความเครียดสูง การนอนหลับไม่เพียงพอ การออกกำลังกายหนักเกินไป การกระตุ้นหรือบีบเต้านม การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคความดันโลหิต หรือยาต้านอาการคลื่นไส้บางชนิด ภาวะโปรแลคตินสูง อาการเป็นอย่างไร? อาการของภาวะโปรแลคตินสูงจะแตกต่างกันไปตามเพศและระดับฮอร์โมน โดยทั่วไปจะพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์มากที่สุด...
ทำ ICSI แต่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์ การย้ายตัวอ่อน FET คือคำตอบ
เมื่อพูดถึงกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก อย่างการทำ ICSI หรือ IVF หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ คือการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง โดยทั่วไปจะมีการย้ายตัวอ่อนสด (Fresh Transfer) ในรอบเดียวกับที่มีการกระตุ้นไข่ แต่ในปัจจุบันมีอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั่นคือ การย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง หรือ Frozen Embryo Transfer (FET) ซึ่งการเลือกแช่แข็งตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีไว้ก่อน แล้วค่อยทำการย้ายในเวลาที่เหมาะสม สามารถช่วยลดภาวะความเสี่ยงบางประการ และยังเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ทำความรู้จักกับกระบวนการ Frozen Embryo Transfer (FET) Frozen Embryo Transfer หรือ FET คือ กระบวนการย้ายตัวอ่อนที่ได้จากการปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการและนำไปแช่แข็งไว้ด้วยวิธีการแช่แข็งแบบผลึกแก้วหรือ Vitrification โดยนำตัวอ่อนแช่แข็งที่อยู่ในระยะ Blastocyst มาผ่านกระบวนการละลาย (Thawing) แล้วย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง กระบวนการนี้แตกต่างจากการย้ายตัวอ่อนรอบสดตรงที่ไม่จำเป็นต้องทำในรอบเดียวกับการกระตุ้นไข่และเก็บไข่ สามารถเลือกทำในช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมหรือคู่สมรสสะดวกได้ และมีอัตราประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ค่อนข้างสูงกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด ขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนแช่แข็ง การตรวจร่างกายและเยื่อบุโพรงมดลูก : ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนของฝ่ายหญิง รวมทั้งตรวจความหนาและความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยการอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด การละลายตัวอ่อน : ตัวอ่อนที่ถูกแช่แข็งด้วยวิธี Vitrification จะถูกนำมาละลายด้วยการดึงสารป้องกันการแช่แข็งออกแล้วใส่น้ำกลับไปแทนที่ เพื่อป้องกันเซลล์ได้รับความเสียหาย โดยอุณหภูมิจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นทีละนิดจากอุณหภูมิห้องไปถึงอุณหภูมิร่างกาย (37 องศาเซลเซียส) ใช้เวลา 20-30 นาที การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก : ตัวอ่อนที่ละลายแล้วจะถูกนำไปประเมินคุณภาพอีกครั้ง จากนั้นแพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกโดยการใช้เครื่องมือเฉพาะ เพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวกับผนังมดลูกและเกิดการตั้งครรภ์ การพักฟื้นหลังย้ายตัวอ่อน : หลังย้ายตัวอ่อนเสร็จ ฝ่ายหญิงควรพักฟื้นที่สถานพยาบาล 1-2...
วางแผนมีบุตรด้วยการตรวจพันธุกรรม ก้าวแรกสู่ครอบครัวสุขภาพดี
การวางแผนมีบุตรในยุคปัจจุบันไม่ได้จำกัดเพียงเรื่องสุขภาพร่างกายหรือช่วงเวลาที่เหมาะสมอีกต่อไป หากแต่ยังครอบคลุมถึง “การตรวจพันธุกรรม” หรือที่เรียกกันว่า “การตรวจยีน” ซึ่งเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่คู่รักควรให้ความสำคัญก่อนเริ่มต้นตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในยุคที่โรคทางพันธุกรรมสามารถแฝงตัวอยู่ในร่างกายของพ่อแม่โดยไม่แสดงอาการใด ๆ การตรวจยีนจึงเป็นการวางแผนล่วงหน้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกน้อยเกิดมาด้วยสุขภาพที่แข็งแรงและสมบูรณ์ การตรวจพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์คืออะไร? การตรวจพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์ คือการตรวจหาความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซมที่อาจแฝงอยู่ในร่างกายของพ่อแม่ แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เป้าหมายหลักคือการประเมินความเสี่ยงในการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรมสู่ลูก และช่วยให้สามารถวางแผนหรือเลือกแนวทางการตั้งครรภ์ที่เหมาะสมได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ตัวอย่างโรคที่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจยีน หรือโครโมโซม ยีนผิดปกติที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย, โรคซิสติกไฟโบรซิส, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ความผิดปกติของโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม หรือ เอ็ดเวิร์ดซินโดรม ความเสี่ยงโรคหายากที่พ่อแม่ไม่มีอาการแต่สามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ ทำไมการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ถึงสำคัญสำหรับคู่รัก? สำหรับคู่รักที่วางแผนมีลูก การตรวจยีนให้มากกว่าการ “รู้ความเสี่ยง” เพราะยังเป็นการเปิดโอกาสให้ครอบครัวได้เริ่มต้นอย่างมั่นใจ พร้อมข้อดีที่หลากหลาย เช่น ป้องกันการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม : หากพบยีนผิดปกติทั้งพ่อและแม่ แพทย์สามารถให้คำแนะนำและเสนอทางเลือก เช่น การทำ IVF ร่วมกับการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อน (PGT-A)และ การตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยวในตัวอ่อน (PGT-M) เพื่อหลีกเลี่ยงตัวอ่อนที่มียีนผิดปกติ วางแผนครอบครัวได้อย่างรอบคอบ : การรู้ล่วงหน้าจะช่วยให้มีเวลาเตรียมความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ลดความกังวลใจของคู่รัก : คู่รักจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเมื่อทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เป็นประโยชน์สำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก : โดยเฉพาะคู่รักที่ต้องพึ่งเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์เพื่อช่วยให้มีบุตร เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) และ อิ๊กซี่ (ICSI) ใครควรเข้ารับการตรวจยีนและตรวจก่อนตั้งครรภ์? แม้การตรวจพันธุกรรมก่อนตั้งครรภ์จะเหมาะกับทุกคู่รักที่กำลังวางแผนมีบุตร แต่กลุ่มดังนี้ควรพิจารณาเป็นพิเศษ กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจยีน คู่รักที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคพันธุกรรม ผู้หญิงอายุมากกว่า 35 ปี หรือผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี เคยแท้งบุตรโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือเคยมีลูกที่มีความผิดปกติ ...
อยากมีบุตรต้องเลี่ยง! แอลกอฮอล์มีผลต่ออสุจิอย่างไร?
ปัจจุบันภาวะมีบุตรยากได้กลายเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยมากขึ้น ทำให้คู่รักต่างหาคำตอบว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้มีลูกยาก โดยหนึ่งในปัจจัยที่หลายคนอาจไม่รู้และมักถูกมองข้ามไปก็คือ ‘การดื่มแอลกอฮอล์’ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อความสามารถในการมีบุตรของผู้ชายได้อย่างมาก แอลกอฮอล์มีผลต่ออสุจิอย่างไร? “ดื่มเหล้า มีผลกับอสุจิไหม ?” อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า “มี” และอาจมีผลกระทบมากกว่าที่หลายคนคาดคิด เนื่องจากการดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเข้าไปรบกวนกระบวนการสร้างอสุจิใหม่ที่เกิดขึ้นในอัณฑะ โดยเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาประมาณ 74 วัน และแอลกอฮอล์สามารถส่งผลกระทบได้ในทุกขั้นตอนของการสร้างอสุจิ ทำให้อสุจิที่ผลิตออกมาใหม่มีคุณภาพลดลง ดังนี้ 1. จำนวนอสุจิลดลง (Oligospermia) แอลกอฮอล์จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ช่วยในการผลิตอสุจิ หากระดับฮอร์โมนนี้ลดลง กระบวนการสร้างอสุจิก็จะถูกหยุดชะงักหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้จำนวนอสุจิที่ผลิตออกมาไม่เพียงพอต่อการตั้งครรภ์ 2. ความเคลื่อนไหวของอสุจิลดลง (Asthenospermia) เพื่อให้การตั้งครรภ์เกิดขึ้น อสุจิต้องสามารถเคลื่อนที่ไปถึงไข่และปฏิสนธิกันได้ แต่หากอสุจิเคลื่อนไหวได้ช้าลง หรือเคลื่อนที่ไม่ตรงทิศทาง โอกาสที่อสุจิจะไปถึงไข่และทำการปฏิสนธิก็จะลดลงอย่างมาก ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์สามารถทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของอสุจิถูกขัดขวาง ส่งผลให้การเคลื่อนที่ของอสุจิไม่ราบรื่น หรือไม่สามารถวิ่งไปยังไข่ได้ตามปกติ 3. รูปร่างอสุจิผิดปกติ (Teratospermia) การดื่มแอลกอฮอล์สามารถส่งผลต่อรูปร่าง ทำให้อสุจิไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติ เช่น หัวอสุจิที่มีขนาดใหญ่เกินไป หรือปลายหางที่สั้นเกินไป จะไม่สามารถฝ่ากลไกของไข่ในการปฏิสนธิได้อย่างมีประสิทธิภาพ แอลกอฮอล์มีผลต่อสมรรถภาพอย่างไร? ผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้ชายไม่ได้จำกัดเพียงแค่คุณภาพอสุจิ แต่ยังรวมถึงสมรรถภาพทางเพศและความสามารถในการมีบุตร ดังนี้ 1. ผลกระทบต่อฮอร์โมน ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้ระดับเทสโทสเตอโรนในเลือดลดลง ซึ่งเทสโทสเตอโรนเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมการสร้างอสุจิและรักษาสมรรถภาพทางเพศ เมื่อระดับฮอร์โมนนี้ลดลง จึงส่งผลโดยตรงต่อการสร้างอสุจิและสมรรถภาพทางเพศ ฮอร์โมน LH และ FSH แอลกอฮอล์จะเข้าไปรบกวนการหลั่งฮอร์โมน Luteinizing Hormone (LH) และ Follicle Stimulating Hormone (FSH) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองประเภทมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของอัณฑะและกระบวนการสร้างอสุจิ ฮอร์โมนเอสโตรเจน การดื่มแอลกอฮอล์จะเพิ่มระดับเอสโตรเจนในผู้ชาย ซึ่งเมื่อระดับเอสโตรเจนในผู้ชายสูงขึ้น อาจทำให้การผลิตอสุจิลดลงและยังส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้ 2. ผลกระทบต่อประสิทธิภาพทางเพศ การแข็งตัวของอวัยวะเพศ แอลกอฮอล์ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือดและระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะทำให้อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างเต็มที่ (Erectile...
สูบบุหรี่ทำให้อสุจิไม่แข็งแรง ส่งผลต่อการมีลูกจริงหรือไม่?
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าการสูบบุหรี่จะทำให้อสุจิไม่แข็งแรง และส่งผลให้มีลูกยาก เป็นเรื่องจริงหรือแค่ความเชื่อผิด ๆ เพื่อเป็นการไขข้อสงสัย เราจะมาสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของการสูบบุหรี่ เพื่อช่วยให้คุณและคู่รักสามารถวางแผนป้องกัน พร้อมกับดูแลสุขภาพ เพื่อเตรียมตัวมีบุตรได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ผู้ชายสูบบุหรี่มีลูกยากจริงหรือไม่ เพราะอะไร? การสูบบุหรี่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของอสุจิ และอาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยาก ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ สารพิษในบุหรี่ นอกจากสารนิโคตินแล้ว ยังมีสารเคมีอื่น ๆ อีกมากกว่า 4,000 กว่าชนิด ซึ่งจะเข้าไปทำลายเซลล์อสุจิ รวมถึงลดจำนวนและความสามารถในการเคลื่อนไหวของอสุจิ เพิ่มระดับอนุมูลอิสระ (Oxidative Stress) ในร่างกาย การสูบบุหรี่มาเป็นเวลานาน จะทำให้สารเคมีเกิดการสะสมในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้ DNA ของอสุจิเสียหาย จนอสุจิไม่แข็งแรง ส่งผลให้โอกาสในการปฏิสนธิน้อยลง กระทบต่อฮอร์โมนเพศชาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตอสุจิและสมรรถภาพทางเพศ เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศลดลง ส่งผลต่อการทำงานของอัณฑะในการผลิตอสุจิ รู้ได้อย่างไรว่าอสุจิของคนที่สูบบุหรี่ไม่มีคุณภาพ ส่งผลให้มีลูกยาก? หากต้องการรู้ว่าอสุจิของคนที่สูบบุหรี่ไม่มีคุณภาพ และส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยากจริงหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้ออย่างละเอียด ซึ่งเรียกว่า Semen Analysis (SA) โดยจะเป็นการตรวจวัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น ปริมาณของอสุจิ การตรวจนับจำนวนอสุจิในน้ำเชื้อ เป็นตัวชี้วัดคุณภาพพื้นฐานของอสุจิ โดยปกติแล้วในน้ำเชื้อ 1 มิลลิลิตร ควรมีอสุจิอย่างน้อย 15 ล้านตัว หากพบว่าจำนวนอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ อาจบ่งชี้ถึงปัญหาในการผลิตอสุจิ ที่จะส่งผลกระทบต่อการมีบุตรได้ ปริมาตรของอสุจิ ในส่วนของปริมาตรอสุจิที่มีคุณภาพนั้น ต้องมีประมาณ 2-6 มิลลิลิตร ต่อการหลั่งอสุจิหนึ่งครั้ง แต่ถ้าน้อยกว่า 1.5 มิลลิลิตร อาจเป็นสัญญาณของภาวะมีบุตรยาก อันเนื่องมาจากความบกพร่องของอัณฑะหรือท่อนำอสุจิ การเคลื่อนไหวของอสุจิ ลักษณะการเคลื่อนไหวของอสุจิ เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดคุณภาพที่สำคัญ โดยอสุจิที่แข็งแรงจะต้องเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและมีทิศทางที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถเดินทางผ่านระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงและไปถึงไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รูปร่างของอสุจิ สำหรับรูปร่างของอสุจิที่มีคุณภาพ...