เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ผู้ติดเชื้อ HIV มีลูกได้ไหม ? ควรทำอย่างไรหากอยากมีลูก

แม่ติดเชื้อ HIV ลูกจะติดไหม อยากมีลูกต้องทำอย่างไร

Table of Contents

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ การติดเชื้อ HIV จะเป็นเรื่องที่น่ากลัวน้อยลงกว่าสมัยก่อน เนื่องด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย จึงสามารถผลิตยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีสุขภาพที่แข็งแรงและมีชีวิตที่ยืนยาวได้เหมือนกับคนทั่วไป แต่เชื่อว่าสิ่งที่หลายคนยังคงเป็นกังวลกันอยู่ ก็คือเรื่องที่ว่า ถ้าติดเชื้อ HIV มีลูกได้ไหม ? หรือถ้าแม่ติดเชื้อ HIV ลูกจะติดไหม ? เพื่อช่วยไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ เราจะพาไปหาคำตอบกัน

พ่อแม่ติดเชื้อ HIV มีลูกได้ไหม ?

ด้วยประสิทธิภาพของยาต้านไวรัสในปัจจุบัน ทำให้ผู้ติดเชื้อ HIV มีภูมิต้านทานที่ดี สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการแพร่เชื้อ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถใช้ชีวิตได้แบบคนทั่วไป การมีลูกเพื่อมาเติมเต็มครอบครัว จึงเป็นความฝันของผู้ติดเชื้อ HIV หลาย ๆ คน ส่วนคำถามที่ว่า ผู้ติดเชื้อ HIV มีลูกได้ไหม คำตอบคือ “สามารถมีได้” โดยจะต้องเข้ารับการประเมินด้านการเจริญพันธุ์กับแพทย์ก่อน เพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

การประเมินความสามารถในการเจริญพันธุ์สำหรับผู้ป่วย HIV

การประเมินความสามารถในการเจริญพันธุ์สำหรับผู้ป่วย HIV เป็นกระบวนการที่ใช้ประเมินถึงโอกาสในการมีบุตรที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยมีสิ่งที่จะต้องประเมิน ดังต่อไปนี้

  • ประเมินความสามารถในการเจริญพันธุ์ โดยฝ่ายสามีต้องทำการตรวจคุณภาพอสุจิ ส่วนฝ่ายภรรยาต้องตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็น โพรงมดลูก รังไข่ ท่อนำไข่
  • การประเมินสุขภาพโดยรวม แพทย์จะซักถามเกี่ยวกับประวัติสุขภาพโดยรวม ว่ามีการใช้ยาต้านไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมถึงต้องไม่มีโรคติดเชื้ออื่น ๆ แทรกซ้อนและตรวจประเมินโรคติดเชื้ออื่น ๆ ที่อาจพบได้ร่วมกัน
  • การตรวจวัดปริมาณไวรัส เพื่อวัดระดับไวรัสในเลือด (Viral load) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่าผู้ป่วยสามารถควบคุมเชื้อ HIV ได้ดีแค่ไหน ระดับไวรัสที่ต่ำบ่งชี้ว่ามีโอกาสแพร่เชื้อไปสู่ทารกในครรภ์น้อย ซึ่งผู้ติดเชื้อที่จะสามารถมีลูกได้ต้องตรวจเลือดแล้วไม่พบเชื้อไวรัส และมีค่าเม็ดเลือดขาว CD4 มากกว่า 250 cells/mm3 อย่างน้อย 6 เดือน ขึ้นไป
  • การตรวจเลือด เพื่อตรวจหาความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ที่อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

แล้วถ้าหากเป็นเอดส์มีลูกได้ไหม ?

เอดส์ (AIDS – Acquired Immunodeficiency Syndrome) คือภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติอย่างรุนแรง เนื่องจากการติดเชื้อ HIV และไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่เหมาะสม รวมถึงไม่รับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ค่าเม็ดเลือดขาว CD4 ลดลงต่ำกว่า 200 cells/mm3 หรือมีการติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ ได้ง่าย ดังนั้นสำหรับผู้ที่สงสัยว่าเป็นเอดส์มีลูกได้ไหม ? คำตอบคือ “สามารถมีได้” แต่จะต้องมีการเตรียมตัวและดูแลอย่างเข้มข้นกว่าผู้ติดเชื้อ HIV ทั่วไป

แม้ติดเชื้อ HIV ก็มีลูกได้อย่างปลอดภัย ด้วยการทำเด็กหลอดแก้วและการทำอิ๊กซี่

สำหรับแม่ที่เป็น HIV ที่กังวลว่ามีลูกได้ไหม ? ต้องบอกว่าสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย เพราะด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ช่วยลดโอกาสการถ่ายทอดเชื้อ HIV ไปสู่ลูกได้ด้วยวิธีการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์สำหรับคู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก โดยเป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมกันเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง และตอบโจทย์กับคู่สมรสที่เป็นผู้ติดเชื้อ HIV โดยมีรายละเอียดดังนี้

กรณีฝ่ายชายติดเชื้อ HIV ฝ่ายหญิงปกติ

สามารถมีลูกได้ด้วยการทำอิ๊กซี่ (ICSI) โดยอสุจิที่นำมาใช้ผสมกับไข่ จะต้องผ่านขั้นตอนการล้างเชื้อ HIV เพื่อลดโอกาสถ่ายทอดเชื้อ

กรณีฝ่ายหญิงติดเชื้อ HIV ฝ่ายชายปกติ

ใช้วิธีฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง หรือการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ทดแทนการมีเพศสัมพันธ์

กรณีติดเชื้อ HIV ทั้งชายและหญิง

ใช้วิธีการทำอิ๊กซี่ (ICSI) โดยนำอสุจิไปผ่านขั้นตอนการล้างเชื้อ HIV ก่อน แล้วจึงนำไปผสมกับไข่ หลังจากได้ตัวอ่อนที่สมบูรณ์แล้วค่อยนำไปฝังในโพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป

ขั้นตอนการล้างเชื้อ HIV จากอสุจิ (Sperm Washing)

โดยปกติแล้วเชื้อ HIV จะแฝงอยู่ในน้ำเลี้ยงอสุจิ หรือสารคัดหลั่ง ดังนั้นการทำ Sperm Washing จึงเป็นเทคนิคในการกำจัดเชื้อ HIV ออกจากอสุจิ ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อ HIV ผ่านการปฏิสนธิ โดยมีขั้นตอนหลัก ๆ ดังนี้

  • เก็บตัวอย่างอสุจิ เพื่อตรวจวัดคุณภาพ ทั้งจำนวน การเคลื่อนไหว รูปร่าง และปริมาณ
  • แยกอสุจิออกจากน้ำอสุจิ ใช้เทคนิคการปั่นแยกด้วยความเร็วสูง (Centrifugation) เพื่อแยกตัวอสุจิที่แข็งแรงออกจากน้ำอสุจิและเซลล์อื่น ๆ
  • ล้างอสุจิ ด้วยวิธี Density Gradient Centrifugation (DGC) ร่วมกับวิธี Swim-up เพื่อกำจัดเชื้อ HIV ที่อาจปนเปื้อนอยู่บนผิวของตัวอสุจิ
  • คัดเลือกอสุจิที่เคลื่อนไหวและมีความสมบูรณ์แข็งแรง และนำอสุจิที่ได้ไปฉีดเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง หรือนำไปเข้าสู่กระบวนการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ต่อไป

ข้อดีของการทำ Sperm Washing

ข้อดีของการทำ Sperm Washing หรือการล้างอสุจิมีหลายประการ ดังนี้

  • ลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ HIV ช่วยให้คู่สมรสที่ฝ่ายชายติดเชื้อ HIV สามารถมีบุตรได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น
  • ลดโอกาสที่คู่สมรสฝ่ายหญิงและทารกในครรภ์ จะติดเชื้อ HIV จากคู่สมรสฝ่ายชาย
  • เพิ่มโอกาสในการมีบุตร ช่วยให้ผู้ชายที่ติดเชื้อ HIV สามารถมีลูกได้ โดยเป็นกระบวนการที่ช่วยลดความเสี่ยงในการถ่ายทอดเชื้อ HIV สู่ลูก

หากฝ่ายหญิงผู้ติดเชื้อ HIV ตั้งครรภ์ การติดเชื้อจะรุนแรงขึ้นหรือไม่ ?

การตั้งครรภ์ไม่ได้ทำให้การติดเชื้อ HIV มีความรุนแรงมากขึ้น หากฝ่ายหญิงมีการรับยาต้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการดูแลร่างกายอย่างเหมาะสม

ทำอย่างไรหากเพิ่งรู้ตัวว่าติดเชื้อ HIV ตอนฝากครรภ์ ?

นอกจากคำถามที่ว่า ถ้าติดเชื้อ HIV มีลูกได้ไหมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนกังวลก็คือ จะทำอย่างไรหากเพิ่งรู้ตัวว่าติดเชื้อ HIV ตอนฝากครรภ์ ต้องบอกว่าในปัจจุบันนี้ การติดเชื้อจากแม่ไปสู่ลูกพบได้ในอัตราที่น้อยกว่า 1% และมีโอกาสสูงที่ลูกน้อยในครรภ์จะรอดพ้นจากการติดเชื้อ ดังนั้นสิ่งที่คุณแม่มือใหม่ควรทำก็คือ ให้รีบมาฝากครรภ์โดยเร็วที่สุด เพื่อใช้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่น ๆ และดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์

เพราะในปัจจุบันนี้ โรค HIV ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวอย่างที่คิด ด้วยประสิทธิภาพของยาต้านไวรัส หากผู้ติดเชื้อรับยาต้านอย่างสม่ำเสมอ และดูแลร่างกายให้แข็งแรง ก็จะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติเหมือนคนทั่วไป สามารถแต่งงาน สร้างครอบครัว และมีลูกน้อยมาเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์ได้อย่างที่ฝัน

การตรวจติดตามผู้หญิงตั้งครรภ์ ที่สามีติดเชื้อ HIV

ในส่วนของผู้หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ติดเชื้อ HIV แต่สามีติดเชื้อ HIV ต้องมีการตรวจติดตาม ดังนี้

  1. ตรวจคัดกรองโรคต่าง ๆ ด้วยการตรวจปัสสาวะและตรวจเลือดพื้นฐาน
  2. ตรวจหาเชื้อ HIV ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์ และควรตรวจซ้ำอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์
  3. ตรวจวัดปริมาณไวรัสในเลือดเป็นประจำ โดยแพทย์จะพิจารณาความถี่ในการตรวจตามความเหมาะสม ซึ่งผลการตรวจวัดปริมาณไวรัส จะเป็นตัวกำหนดแนวทางการรักษาและการป้องกันการติดต่อเชื้อ HIV ไปยังทารกในครรภ์
  4. ตรวจติดตามสุขภาพทั่วไป เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เพื่อดูแลสุขภาพโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

การตรวจติดตามการตั้งครรภ์ กรณีที่ทั้งสามีและภรรยาติดเชื้อ HIV

ในกรณีที่ทั้งสามีและภรรยาติดเชื้อ HIV จำเป็นต้องมีการตรวจติดตามขณะตั้งครรภ์ ดังนี้

  1. เข้ารับการรักษาและรับประทานยาต้านไวรัสอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายหญิงต้องมีการปรับยาให้เหมาะสมกับขณะตั้งครรภ์
  2. ตรวจค่าเม็ดเลือดขาว CD4 เพื่อประเมินระบบภูมิคุ้มกัน
  3. ตรวจวัดปริมาณไวรัส (Viral Load) ในเลือดเป็นประจำ เพื่อกำหนดแนวทางการรักษาและการป้องกันการติดต่อเชื้อ HIV ไปยังทารกในครรภ์
  4. ตรวจติดตามสุขภาพทั่วไป เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เพื่อดูแลสุขภาพโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ และป้องกันความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

เติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์ ด้วยการวางแผนมีลูกอย่างปลอดภัย ปรึกษา VFC Center

VFC Center ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร (V Fertility Center) เราให้บริการแบบครบวงจร ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาแก่คู่สมรสที่มีปัญหามีบุตรยาก ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย และเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน เราพร้อมดูแลคู่สมรสผู้ติดเชื้อ HIV ที่ฝันอยากจะมีลูกน้อยมาเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์ ด้วยการทำอิ๊กซี่ (ICSI) และการฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก รวมถึงการรักษาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตร

บทความโดย แพทย์วนากานต์ สิงหเสนา

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ ได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

Hotline : 082-903-2035

LINE Official : @vfccenter

Dr. Wannakan Singhasena, a fertility specialist in Thailand

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.