เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

บทความสุขภาพ

คู่รักพูดคุยกับแพทย์ เรื่องการทำ IUI, IVF หรือ ICSI จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสไหม

สรุปชัด! ทำ IUI, IVF หรือ ICSI ต้องจดทะเบียนสมรสไหม?

เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เช่น IUI, IVF และ ICSI ได้กลายเป็นความหวังของคู่รักที่เผชิญภาวะมีบุตรยาก โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ “การมีลูกเพื่อมาเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์” แต่หนึ่งในคำถามสำคัญที่หลายคู่สงสัยก็คือ “การทำ IUI, IVF หรือ ICSI จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสไหม ?” เพราะแม้ว่ากระบวนการทางการแพทย์จะช่วยให้มีลูกได้ แต่ประเด็นทางกฎหมายและสิทธิของเด็กที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเหล่านี้ก็มีผลโดยตรงต่อการใช้ชีวิตในอนาคตเช่นกัน ดังนั้น การเข้าใจถึงข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม กระบวนการทำ IUI, IVF และ ICSI คืออะไร? เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละวิธีมีจุดเด่นและความเหมาะสมต่างกัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ประเมินเพื่อเลือกแนวทางที่ตอบโจทย์ที่สุดในแต่ละกรณี IUI (Intrauterine Insemination) : การฉีดอสุจิเข้าโพรงมดลูก เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่นำอสุจิที่ผ่านการคัดกรองแล้วฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงไข่ตก เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิโดยธรรมชาติ เหมาะสำหรับคู่ที่สุขภาพโดยรวมปกติ แต่ฝ่ายชายมีจำนวนหรือการเคลื่อนไหวของอสุจิต่ำกว่าเกณฑ์เล็กน้อย และฝ่ายหญิงมีปัญหาไข่ตกไม่สม่ำเสมอ IVF (In Vitro Fertilization) : เด็กหลอดแก้ว เป็นกระบวนการนำไข่และอสุจิออกมาปฏิสนธิกันนอกร่างกาย แล้วเพาะเลี้ยงตัวอ่อนก่อนย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก เหมาะสำหรับคู่ที่ฝ่ายชายมีจำนวนอสุจิน้อย หรือมีปัญหาในการหลั่งอสุจิ และฝ่ายหญิงมีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมีความผิดปกติในการตกไข่ ทำ ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) : การฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง เป็นเทคนิคขั้นสูงที่ใช้อสุจิที่แข็งแรงเพียง 1 ตัว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง เหมาะสำหรับกรณีที่อสุจิมีปัญหามาก เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือมีจำนวนน้อยมาก รวมถึงฝ่ายหญิงที่มีจำนวนไข่น้อย เปลือกไข่แข็ง หรือมีภาวะมดลูกไม่แข็งแรง ทำ IUI, IVF หรือ ICSI ต้องจดทะเบียนสมรสไหม? ตามกฎหมายไทย : ต้องจดทะเบียนสมรส การเข้ารับบริการเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ในประเทศไทย...

ฮอร์โมน hCG คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการตั้งครรภ์

ฮอร์โมน hCG คืออะไร สำคัญกับการตั้งครรภ์อย่างไร?

การรับรู้ถึงการตั้งครรภ์ มีความสำคัญอย่างมากต่อการวางแผนดูแลสุขภาพของคุณแม่และทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งมักต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการติดตามความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่ง “ฮอร์โมน hCG” ถือเป็นสัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าการตั้งครรภ์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพราะเป็นฮอร์โมนที่ถูกผลิตเมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวในโพรงมดลูก บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่า ฮอร์โมน hCG คืออะไร พร้อมวิธีตรวจสอบค่า hCG ที่ถูกต้อง รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ เพื่อให้คุณมั่นใจและพร้อมในการดูแลครรภ์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ฮอร์โมน hCG คืออะไร ทำไมจึงสำคัญกับการตั้งครรภ์? ฮอร์โมน hCG ย่อมาจาก Human Chorionic Gonadotropin เป็นฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นจากรก หลังจากที่ตัวอ่อนฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะเริ่มผลิตทันทีภายใน 6-10 วันหลังจากไข่ที่ผสมและมีการฝังตัว หน้าที่หลักของ hCG คือการกระตุ้นรังไข่ให้คงระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเอาไว้ เพื่อให้ผนังมดลูกมีความหนาและเหมาะกับการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังมีบทบาทในการป้องกันการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะนำไปสู่การแท้ง ฮอร์โมน hCG ตรวจพบได้เมื่อไหร่ และด้วยวิธีไหนบ้าง? การตรวจพบฮอร์โมน hCG สามารถทำได้สองวิธีหลัก ๆ ได้แก่ ตรวจเลือด (Blood test) สามารถตรวจพบ hCG ได้ตั้งแต่ 6-8 วันหลังไข่ได้รับการปฏิสนธิ เป็นวิธีที่ไวและแม่นยำที่สุด แพทย์มักใช้วิธีนี้เพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ในระยะแรก ตรวจปัสสาวะ (ชุดตรวจครรภ์) แนะนำให้ตรวจหลังประจำเดือนขาดประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะหากตรวจเร็วเกินไป ระดับ hCG อาจยังต่ำจนไม่สามารถตรวจเจอได้   ทั้งนี้ ปัจจัยอย่างรอบเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ หรือวันตกไข่คลาดเคลื่อน อาจส่งผลให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ จึงควรตรวจซ้ำตามคำแนะนำหากผลออกมาไม่ชัดเจน ค่า hCG เท่าไหร่ถึงท้อง? ในเชิงตัวเลข หากตรวจเลือดแล้วพบว่า ค่า hCG มากกว่า 25 mIU/mL จะถือว่าตั้งครรภ์...

การเก็บอสุจิและคัดเลือกอสุจิที่สมบูรณ์เพื่อนำไปทำเด็กหลอดแก้ว

การเก็บอสุจิวิธี PESA และ TESE ผู้ชายเป็นหมันก็มีลูกได้

ไข่และอสุจิ เป็นสารตั้งต้นของการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ สำหรับคุณผู้ชายที่ตรวจน้ำเชื้อแล้วพบว่าไม่มีอสุจิ อย่าเพิ่งหมดหวังในการมีบุตร เพราะปัจจุบัน ทางการแพทย์มีเทคโนโลยีการเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะหรือหลอดพักอสุจิ ด้วยเทคนิค PESA และ TESE ซึ่งถูกพัฒนาเพื่อช่วยให้ผู้ชายที่ประสบภาวะมีบุตรยากจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทำหมันถาวร ภาวะอุดตัน หรือแม้แต่การผลิตอสุจิที่ต่ำผิดปกติ การทำความเข้าใจวิธีการเก็บน้ำอสุจิเหล่านี้ ถือเป็นก้าวแรกของการวางแผนมีบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ การเก็บอสุจิด้วยวิธี PESA และ TESE คืออะไร ต่างกันอย่างไร? การเก็บน้ำอสุจิด้วยวิธี PESA และ TESE คือกระบวนการทางการแพทย์ที่ใช้สำหรับผู้ชายที่ไม่สามารถหลั่งน้ำเชื้อได้ตามธรรมชาติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการส่งผ่านอสุจิ วิธีเหล่านี้จะช่วยเก็บตัวอสุจิโดยตรง และนำไปใช้ร่วมกับการทำ ICSI เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์สำหรับคู่สมรสที่ประสบภาวะมีบุตรยาก PESA การเก็บอสุจิจากหลอดพักอสุจิ PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) คือ กระบวนการเก็บอสุจิโดยใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังบริเวณถุงอัณฑะเข้าไปในท่อพักอสุจิส่วนต้น (Epididymis) ซึ่งเป็นจุดที่อสุจิเจริญเติบโต เพื่อเก็บอสุจิออกมาโดยตรง เป็นหัตถการที่ไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องเย็บแผล จึงใช้เวลาน้อย ผู้เข้ารับการรักษาฟื้นตัวได้ไว เหมาะกับผู้ที่มีภาวะอุดตันของท่อนำอสุจิและเคยทำหมันถาวร โดยมีขั้นตอนดังนี้ แพทย์ทำการตรวจร่างกายและฉีดยาชาเฉพาะจุด แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิวหนังถุงอัณฑะ เพื่อเข้าถึงท่อพักอสุจิส่วนต้น ดูดตัวอสุจิออกมาโดยตรงด้วยความระมัดระวัง เพื่อนำไปประเมินคุณภาพ TESE การเก็บอสุจิจากชิ้นเนื้อโดยตรง TESE (Testicular Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดขนาดเล็กเพื่อนำชิ้นเนื้อจากลูกอัณฑะ (Testicle) มาตรวจหาอสุจิในเนื้อเยื่อโดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ไม่มีอสุจิในหลอดพักอสุจิ มีปัญหาในการสร้างอสุจิ หรือไม่มีท่อนำอสุจิโดยกำเนิด นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสได้อสุจิที่สมบูรณ์แล้ว ยังช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของภาวะไม่มีอสุจิได้ด้วย สำหรับขั้นตอนสำคัญของการเก็บอสุจิด้วยวิธี TESE ได้แก่ แพทย์ทำการตรวจร่างกายและฉีดยาชาเฉพาะจุด ใช้ใบมีดขนาดเล็กผ่าเปิดลูกอัณฑะและตัดชิ้นเนื้อออกมาเล็กน้อย ...

ปวดประจำเดือนรุนแรงอาจเป็นอาการของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

รู้จักเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เข้าใจวิธีเพิ่มโอกาสมีบุตร

ประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยกว่าปกติ ปวดท้องประจำเดือนรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และที่น่ากังวลที่สุดคือพยายามมีบุตรมานานแต่ยังไม่สำเร็จ หากคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ Adenomyosis ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ปัจจุบันมีวิธีการวินิจฉัยและรักษาที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้คุณกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีและเพิ่มโอกาสในการมีบุตรให้สำเร็จได้ Adenomyosis คืออะไร? Adenomyosis คือภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) เจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อผนังมดลูก (Myometrium) ซึ่งโดยปกติแล้วเยื่อบุชนิดนี้ควรอยู่ด้านในโพรงมดลูกเท่านั้น และเมื่อเยื่อบุเจริญผิดที่จะทำให้มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นและเกิดอาการต่าง ๆ ตามมา Adenomyosis แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ  Focal Adenomyosis ที่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณใดบริเวณหนึ่ง Diffuse Adenomyosis ที่แพร่กระจายไปทั่วผนังมดลูก ความแตกต่างระหว่าง Adenomyosis กับ Endometriosis สิ่งที่หลายคนมักเข้าใจผิดคือ Adenomyosis กับ Endometriosis เป็นกลุ่มโรคเดียวกัน แต่กระจายไปคนละตำแหน่ง โดย Endometriosis คือการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญที่อวัยวะอื่นนอกมดลูก เช่น รังไข่ หรือช่องท้อง ในขณะที่ Adenomyosis เป็นการเจริญของเยื่อบุภายในผนังมดลูกเอง อาการและสัญญาณของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) ประจำเดือนมามากและนานกว่าปกติ (Menorrhagia) เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด  ผู้ป่วยมักต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 1-2 ชั่วโมง และอาจมีลิ่มเลือดออกมาด้วย  อาการปวดประจำเดือนรุนแรง (Dysmenorrhea) ที่อาจเริ่มต้นก่อนประจำเดือนมาและยืดเยื้อไปจนหลังประจำเดือนหยุด  อาการปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia) ซึ่งอาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาได้รับผลกระทบ  อาการแทรกซ้อนจากประจำเดือนมามากเป็นเวลานาน ผู้ป่วยมักประสบปัญหาโลหิตจางและความเหนื่อยล้าเรื้อรัง ผลกระทบต่อการมีบุตร: ปัญหาการตั้งครรภ์และการแท้งบุตร สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือผลกระทบต่อการมีบุตร เพราะโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สามารถก่อให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และเพิ่มความเสี่ยงการแท้งบุตรได้ เนื่องจากสภาพแวดล้อมภายในมดลูกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การฝังตัวของตัวอ่อนเป็นไปได้ยากขึ้น สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) แม้ว่าสาเหตุที่แน่นอนของโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มี 2...

ผู้หญิงที่มีอาการแพ้น้ำอสุจิ

เข้าใจสาเหตุอาการแพ้น้ำอสุจิ และวิธีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

อาการแพ้น้ำอสุจิ เป็นภาวะที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีอยู่จริง และกลายเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาการตั้งครรภ์โดยวิธีธรรมชาติ ดังนั้นการทำความเข้าใจอาการ สาเหตุและวิธีการรักษาภาวะแพ้น้ำอสุจิจึงเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้คู่สมรสสามารถวางแผนในการมีลูกได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย อาการแพ้น้ำอสุจิ เกิดจากสาเหตุอะไร? แพ้น้ำอสุจิ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “Seminal Plasma Hypersensitivity” เป็นภาวะที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อโปรตีนที่อยู่ในน้ำอสุจิ ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับน้ำอสุจิจากฝ่ายชาย ระบบภูมิคุ้มกันจะเข้าใจว่าโปรตีนในน้ำอสุจิเป็นสิ่งแปลกปลอมและเริ่มตอบสนองจนทำให้เกิดอาการแพ้ โดยอาการนี้อาจทำให้การมีเพศสัมพันธ์ไม่ราบรื่นและทำให้เกิดความยากลำบากในการตั้งครรภ์ อาการแพ้น้ำอสุจิ อาการแพ้น้ำอสุจิ อาจแสดงออกมาได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งในบริเวณที่สัมผัสโดยตรง หรือส่งผลกระทบไปทั่วร่างกาย ซึ่งสัญญาณเหล่านี้มักเกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่นานนัก ดังนี้ คันหรือแสบบริเวณอวัยวะเพศ เป็นอาการที่พบมากที่สุดหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหลังจากการสัมผัสกับน้ำอสุจิ และอาจคงอยู่ได้นานหลายชั่วโมง ผื่นแดงคล้ายกับผื่นลมพิษ หรืออาการบวมที่บริเวณอวัยวะเพศหรือรอบ ๆ ช่องคลอด อาการนี้อาจแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียงได้ ระคายเคือง แสบร้อน หรืออักเสบภายในช่องคลอด ทำให้รู้สึกไม่สบายและอาจมีผลต่อการทำกิจวัตรประจำวัน  หายใจหอบ ติดขัด หายใจไม่ออก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ เป็นปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน  คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากมีเพศสัมพันธ์ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ในกรณีที่มีปฏิกิริยาแพ้ระดับปานกลางถึงรุนแรง อาการแพ้น้ำอสุจิรักษาอย่างไร? สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้น้ำอสุจิ แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาต้านฮิสตามีน เพื่อบรรเทาอาการแพ้ หรือในบางกรณีอาจแนะนำการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (Desensitization Therapy) ซึ่งเป็นการค่อย ๆ ให้ร่างกายสัมผัสกับโปรตีนในน้ำอสุจิในปริมาณน้อย ๆ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันค่อย ๆ ปรับตัวและลดการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ลง วิธีป้องกันอาการแพ้น้ำอสุจิ การป้องกันอาการแพ้น้ำอสุจิ สามารถทำได้ด้วยวิธีการเหล่านี้  การใช้ถุงยางอนามัย การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิสัมผัสกับเยื่อบุผิวในช่องคลอดโดยตรง ทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนจะมีบุตร จึงจำเป็นต้องอาศัยแนวทางการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม การตรวจสุขภาพ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณสงสัยว่ามีอาการแพ้น้ำอสุจิ โดยแพทย์จะแนะนำให้ฝ่ายชายตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ เพื่อหาโปรตีนที่ก่อให้เกิดการแพ้ รวมถึงการตรวจเลือดของฝ่ายหญิงเพื่อดูระดับสารภูมิแพ้ การตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องจะช่วยยืนยันภาวะความผิดปกติต่าง ๆ และแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม การปรึกษาแพทย์ หากคุณมีอาการแพ้น้ำอสุจิ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้หรือสูตินรีแพทย์...

ผู้หญิงตั้งครรภ์จากการทำลูกแฝด

รวมข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจทำลูกแฝด ว่าที่คุณพ่อคุณแม่เช็กเลย !

เรียนรู้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีลูกแฝด วิธีเพิ่มโอกาสในการมีลูกแฝด และความเสี่ยงที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจทำลูกแฝด พร้อมคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านการมีบุตร...

ฮอร์โมน FSH (Follicle Stimulating Hormone) คือฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญของไข่

ฮอร์โมน FSH คืออะไร ? ความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์และการมีบุตร

ฮอร์โมน FSH คือกุญแจสำคัญของการมีบุตร มาทำความเข้าใจค่าปกติของฮอร์โมน FSH พร้อมวิธีการดูแลตัวเองเพื่อปรับปรุงระดับฮอร์โมน FSH อย่างมีประสิทธิภาพ...

คู่รักเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

เริ่มชีวิตคู่อย่างมั่นใจ ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน

เตรียมพร้อมชีวิตคู่ด้วยการตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน ช่วยป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในครอบครัว สร้างความมั่นใจในทุกก้าวของการวางแผนครอบครัว...

ผลกระทบของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์

รู้ชัด! ผลกระทบจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่อการตั้งครรภ์

สุขภาพทางเพศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มักถูกมองข้ามไป คือการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ที่สามารถส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์และอาจเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่หลายคนอาจไม่รู้ตัว การได้รู้และทำความเข้าใจถึงภาวะของโรคและการรักษา นอกจากจะช่วยให้หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกน้อยที่เกิดมา ยังจะทำให้เข้าใจว่า หากเคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน จะยังสามารถมีบุตรได้หรือไม่ หรือควรต้องวางแผนอย่างไร เพื่อให้มีลูกได้สำเร็จ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยาก การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually Transmitted Infections - STIs) เป็นกลุ่มโรคที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น การติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา ซึ่งแม้ว่าบางโรคอาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงภาวะมีบุตรยาก ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ผลกระทบจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่อภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สามารถส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ ดังนี้ 1. ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease - PID) ภาวะนี้เกิดจากการติดเชื้อที่มีการแพร่กระจายจากช่องคลอดถึงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน เช่น มดลูก ท่อนำไข่ และรังไข่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์โดยตรง เช่น ทำให้ท่อนำไข่อุดตัน ซึ่งอาจทำให้การเดินทางของไข่ไปถึงมดลูกไม่สมบูรณ์ หรือมีความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูก 2. ท่อนำไข่อุดตัน การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดการอักเสบในท่อนำไข่ ที่อาจส่งผลทำให้ท่อนำไข่เกิดการอุดตัน จนขัดขวางการเดินทางของไข่ไปยังมดลูก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโอกาสการตั้งครรภ์ 3. ภาวะแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก การติดเชื้อในผู้หญิงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก โดยเฉพาะเมื่อท่อนำไข่เกิดความเสียหายจากการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ   ผลกระทบจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ต่อภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย เช่นเดียวกับผู้หญิง การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ก็สามารถส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตรในผู้ชายได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดการติดเชื้อมีผลต่อคุณภาพของน้ำอสุจิ ซึ่งจะกระทบต่อการตั้งครรภ์ได้อย่างมาก  1. การอักเสบของท่ออสุจิ (Epididymitis) การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในผู้ชายอาจทำให้ท่ออสุจิอักเสบ ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอสุจิและความสามารถในการผสมพันธุ์ การอักเสบในท่ออสุจิยังจะลดความสามารถในการขนส่งน้ำอสุจิจากอัณฑะไปยังท่อฉีดของอสุจิ 2. การอักเสบของต่อมลูกหมาก (Prostatitis) การอักเสบในต่อมลูกหมากจากการติดเชื้ออาจทำให้น้ำอสุจิมีคุณภาพต่ำ หรือส่งผลต่อการผลิตน้ำอสุจิให้แข็งแรงและมีความสามารถในการปฏิสนธิ 3. ความผิดปกติของน้ำอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ยังอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำอสุจิโดยตรง เช่น การลดความหนืด ความเข้มข้นของอสุจิ หรือการเคลื่อนไหวของอสุจิที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น   โรคทางเพศสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์...

แพทย์ชี้ที่โมเดลเพื่ออธิบายเกี่ยวกับภาวะผนังมดลูกบาง

ภาวะผนังมดลูกบาง : เข้าใจปัญหาเพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตร

ภาวะผนังมดลูกบางคือสาเหตุหลักของการมีบุตรยาก มาเข้าใจถึงสาเหตุ การวินิจฉัย และวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการมีบุตร ...