เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ขั้นตอนสำคัญสู่การเป็นพ่อแม่มือใหม่

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ขั้นตอนสำคัญสู่การเป็นพ่อแม่มือใหม่

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ขั้นตอนสำคัญสู่การเป็นพ่อแม่มือใหม่

ปัจจุบันนี้คู่สมรสหลายคู่ที่หวังจะเป็นพ่อแม่มือใหม่อาจกำลังเผชิญกับปัญหาที่ว่า แม้จะเตรียมตัวเพื่อการตั้งครรภ์มาตลอดหลายปี แต่ฝ่ายหญิงก็ยังไม่ท้องเสียที ซึ่งปัญหานี้อาจบ่งบอกถึงการตกอยู่ในภาวะมีบุตรยากโดยไม่รู้ตัว ขอชวนคู่สมรสมารู้จักกับการ “ตรวจภาวะมีบุตรยาก” เรื่องจำเป็นสำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่จะช่วยค้นหาสาเหตุของการมีลูกยาก เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธี

สาเหตุที่ทำให้คู่สมรสเผชิญกับภาวะมีบุตรยาก

  • อสุจิ
    ปัญหาอสุจิ (Male Factor) ถือเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากที่พบได้มากถึง 40% เช่น เชื้ออสุจิน้อยลงหรือไม่มีเชื้ออสุจิ, เชื้ออสุจิมีรูปร่างผิดปกติ, เชื้ออสุจิอ่อนแอ หรือเกิดจากความผิดปกติบริเวณอัณฑะซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ผลิตเชื้ออสุจิ
  • ภาวะไม่ตกไข่
    ปัญหาภาวะการตกไข่ (Ovulation Factor) เป็นปัญหาที่พบได้ประมาณ 25% ในกลุ่มคู่สมรสที่เผชิญกับภาวะมีบุตรยาก ซึ่งอาจเกิดได้จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือเกิดจากการที่ฝ่ายหญิงมีอายุมากขึ้นจนทำให้จำนวนและคุณภาพของเซลล์ไข่ลดลง
  • ท่อนำไข่อุดตัน
    ปัญหาเกี่ยวกับท่อนำไข่ (Tubal Factor) เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการมีลูกยาก เพราะท่อนำไข่นั้นเป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างมดลูกและรังไข่ ทำหน้าที่นำไข่และอสุจิเข้ามาปฏิสนธิกัน จากนั้นจึงนำไข่ที่ผสมแล้วเข้าไปฝังตัวที่โพรงมดลูก ดังนั้น หากเกิดปัญหาท่อนำไข่อุดตัน จะทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางไปปฏิสนธิกับอสุจิได้
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
    ปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) จะทำให้ฝ่ายหญิงเกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง หรือมีอาการเจ็บภายในช่องคลอดและท้องน้อยในระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ แต่หลายครั้งก็อาจไม่มีอาการใด ๆ เกิดขึ้นเลย ดังนั้น การเข้าปรึกษาการมีบุตรยากเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ค้นพบความผิดปกติและดำเนินการรักษาได้ทันท่วงที
  • โรคทางนรีเวชอื่น ๆ
    นอกจากสาเหตุเหล่านี้ ภาวะมีบุตรยากยังอาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของมดลูก, ความผิดปกติของฮอร์โมน, ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัย หรือความเครียดส่วนตัวที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทำให้โอกาสตั้งครรภ์ลดน้อยลงตามไปด้วย

การตรวจภาวะมีบุตรยาก คืออะไร สำคัญอย่างไร?

โดยปกติแล้วคู่สมรสหลายต่อหลายคู่มักไม่ได้รับสัญญาณเตือนใด ๆ จากร่างกายที่บ่งบอกถึงภาวะมีบุตรยาก กว่าจะรู้ตัวก็อาจเสียเวลาไปมากกว่า 1 ปีในการพยายามมีลูก ดังนั้น การเข้าตรวจภาวะมีบุตรยากจะช่วยให้คู่สมรสทราบถึงความผิดปกติและปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ เพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและช่วยให้คู่สมรสสามารถมีลูกได้อย่างที่ตั้งใจ

นอกจากนี้ การเข้าปรึกษาการมีบุตรยากก่อนตั้งครรภ์ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ เพราะแพทย์จะแนะนำขั้นตอนการเตรียมความพร้อม ตลอดจนวิธีการดูแลตัวเองที่เหมาะสมเพื่อให้พ่อแม่มือใหม่ให้กำเนิดลูกน้อยได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชาย

ในฝ่ายชายนั้นจะทำการตรวจจากน้ำอสุจิ โดยก่อนเข้ารับการตรวจควรงดหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 3-7 วันเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำที่สุด ซึ่งหากตรวจแล้วพบความผิดปกติ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและอาจมีการตรวจเลือดเพื่อค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิง

สำหรับฝ่ายหญิงนั้น เบื้องต้นจะเป็นการตรวจอัลตราซาวนด์ช่องคลอด, ตรวจหาความผิดปกติของการตกไข่ และใช้วิธีการฉีดสีเอกซเรย์เพื่อดูลักษณะของท่อนำไข่และโพรงมดลูก แต่วิธีหลังนี้จะขึ้นอยู่กับประวัติสุขภาพของผู้เข้ารับการตรวจและดุลยพินิจของแพทย์

แนวทางการรักษาภาวะมีบุตรยาก

หลังจากตรวจพบสาเหตุของภาวะมีบุตรยากแล้ว แพทย์จะให้คำปรึกษาแก่คู่สมรสพร้อมทั้งแนะนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์ เช่น การทำ IVF, ICSI และ IUI หากคู่สมรสใดที่กำลังกังวลกับภาวะมีบุตรยาก หรือต้องการปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การตั้งครรภ์ สามารถเข้าปรึกษาการมีบุตรยากได้ที่ VCF ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ให้บริการโดยสูตินรีแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ครอบคลุมทั้งการปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาคู่สมรสที่เผชิญปัญหามีบุตรยาก

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.