เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน นวัตกรรมเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ

รู้จัก “ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน” นวัตกรรมสานฝันคนมีบุตรยาก

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน นวัตกรรมเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ

ภาวะมีบุตรยากมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคู่สามีภรรยาทุกคู่ จะด้วยสาเหตุจากปัญหาสุขภาพ อายุ ความเครียด หรือปัจจัยใด ๆ ก็ตาม เทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างการทำเด็กหลอดแก้ว IVF ICSI หรือการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพงมดลูก (การทำ IUI) จึงถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยรักษาภาวะนี้ แต่ก่อนที่จะไปถึงกระบวนการตั้งครรภ์ ในการทำ IVF และ ICSI ยังมีขั้นตอนสำคัญอย่างการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนด้วยตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ ก่อนจะนำไปใส่ในมดลูกของผู้เป็นแม่ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่จะส่งผลต่อศักยภาพการเจริญเติบโตของตัวอ่อนโดยตรง จึงถือเป็นกระบวนการที่คู่สามีภรรยาที่ประสบภาวะมีบุตรยากควรรู้ก่อนวางแผนทำการรักษาควบคู่กันไป เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการตัดสินใจทำเด็กหลอดแก้วนั่นเอง

 

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนคืออะไร?

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน เป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นหลังจากการนำไข่และอสุจิที่คัดเลือกมาแล้วว่าสมบูรณ์แข็งแรงที่สุดมาผสมกันเพื่อให้เกิดการปฏิสนธิที่สมบูรณ์แบบ โดยจะนับวันที่เริ่มปฏิสนธิเป็นวันแรกว่า DAY 0 แล้วนำไปเพาะเลี้ยงต่อในตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนโดยเฉพาะ กระบวนการนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของนักวิทยาศาสตร์และเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยส่วนมากจะนิยมเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ Blastocyst ซึ่งเป็นวันที่ 5-6 ของการปฏิสนธิ เกิดการแบ่งตัวประมาณ 80-120 เซลล์ มีความพร้อมที่จะฝังตัวสูง แล้วจึงจะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกของผู้เป็นแม่ต่อไป

 

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนส่งผลอย่างไรกับการตั้งครรภ์?

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ Blastocyst เป็นเหมือนการคัดกรองว่าตัวอ่อนนั้นสมบูรณ์แข็งแรงดีหรือไม่ หากมีอายุจนถึงระยะนี้ก็หมายความว่าตัวอ่อนมีคุณภาพดีและมีความแข็งแรงในระดับหนึ่ง หากใส่กลับไปในโพรงมดลูกก็มีโอกาสที่จะฝังตัวและตั้งครรภ์สูง ช่วยลดอัตราการแท้ง และลดโอกาสการตั้งครรภ์แฝดซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนสำหรับการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะอาจทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ Blastocyst ยังเป็นตัวอ่อนระยะที่สามารถดึงเซลล์รกมาตรวจโครโมโซม 23 คู่เพื่อค้นหาความผิดปกติของภาวะดาวน์ซินโดรม และคัดกรองโรคทางพันธุกรรมได้โดยไม่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์อีกด้วย

 

วิธีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนมีอะไรบ้าง?

เครื่องเลี้ยงตัวอ่อนขนาดเล็ก (MINC)

Mini-incubators หรือเครื่องเลี้ยงตัวอ่อนขนาดเล็ก เป็นการเก็บตัวอ่อนในจานเลี้ยงแล้วเก็บไว้ในช่องที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวอ่อนถูกรบกวนจากสภาวะแวดล้อม ทำให้ตัวอ่อนได้อยู่ในสภาพนิ่ง ไร้สิ่งรบกวน เมื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกจึงช่วยให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้

Time-lapse Incubators

วิธีนี้เป็นการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในตู้ที่มีกล้องจุลทรรศน์และกล้องถ่ายภาพติดตั้งไว้ ทำให้สามารถติดตามดูการเจริญเติบโตได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องรบกวนหรือนำตัวอ่อนออกมานอกตู้ ลดการเกิดผลกระทบจากสภาพแวดล้อมนอกตู้ และย้อนดูพัฒนาการของตัวอ่อนได้ ทำให้การเลือกตัวอ่อนก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูกมีความแม่นยำมากขึ้น

เครื่องเพาะเลี้ยงตัวอ่อนพร้อมระบบติดตามการเจริญเติบโต (GERI)

เทคโนโลยีการเลี้ยงตัวอ่อนหนึ่งตัวต่อหนึ่งหลุมเพาะเลี้ยง ภายในติดตั้งระบบกล้องถ่ายภาพจุลทรรศน์คุณภาพสูง ช่วยให้ติดตามพัฒนาการได้อย่างละเอียด สภาพแวดล้อมภายในจะถูกควบคุมและสังเกตอย่างเป็นอิสระเพื่อให้เหมาะสมกับตัวอ่อนแต่ละตัว รวมทั้งสามารถดูพัฒนาการผ่านภาพถ่ายความละเอียดสูงได้อีกด้วย

 

รู้จักตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนแบบ Embryoscope Plus

ตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนแบบ Embryoscope Plus เป็นตู้แบบพิเศษที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดการรบกวนตัวอ่อนระหว่างเพาะเลี้ยง ทำให้มีพัฒนาการดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น และนำไปสู่อัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น มีความสามารถเหนือกว่าตู้ทั่วไป ซึ่งเราสามารถสรุปข้อดีข้องตู้ Embryoscope Plus ออกมาได้ดังนี้

  1. รักษาเสถียรภาพของสภาวะภายในตู้ได้ดี ทั้งแสง อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น และสภาวะความเป็นกรด-ด่าง
  2. แพทย์ผู้ทำการเพาะเลี้ยงสามารถเก็บภาพพัฒนาการของตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องนำตัวอ่อนออกมาจากตู้ ช่วยประหยัดเวลาและรบกวนตัวอ่อนน้อยลง
  3. ภายในตู้มีระบบถ่ายทอดสัญญาณภาพติดตั้งอยู่ ทำหน้าที่ถ่ายภาพแบบ Time-Lapse ควบคู่กับการใช้ซอฟต์แวร์ Embryo Viewer ทำให้ทีมแพทย์ได้เห็นพัฒนาการของตัวอ่อนอย่างต่อเนื่อง ประเมินพัฒนาการได้แม่นยำและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกตัวอ่อน
  4. ตู้ Embryoscope Plus ใช้ Light Source จากแสงสีแดงซึ่งเป็นแสงที่มีพลังงานต่ำ จึงช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการของตัวอ่อนแม้ว่าจะต้องได้รับการถ่ายภาพตลอดเวลา
  5. ใช้เลนส์ของ Leica ซึ่งเคลื่อนที่ในแนววงกลม ทำให้ได้ภาพถ่ายตัวอ่อนที่มีความละเอียดสูงในระยะเวลาอันสั้น
  6. ระบุข้อมูลตำแหน่งในการเลี้ยงตัวอ่อนได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพด้วยการสแกนบาร์โค้ด
  7. ข้อมูลพัฒนาการของตัวอ่อนจะถูกจัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ สามารถดูย้อนหลังในรูปแบบวิดีโอได้ และมีโปรแกรมช่วยประเมินพัฒนาการได้อย่างแม่นยำ

ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรยาก เรามีตู้เพาะเลี้ยงตัวอ่อน Embryoscope Plus ที่ทันสมัยและได้มาตรฐาน ตอบรับทุกภาวะการมีลูกยาก พร้อมให้คำปรึกษาและให้การรักษาโดยทีมสูตินรีแพทย์มากประสบการณ์ ช่วยคุณวางแผนการตั้งครรภ์อย่างราบรื่นและปลอดภัย

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

Hotline : 082-903-2035

Line : @vfccenter

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.