เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ช่วงกระตุ้นไข่ห้ามกินอะไรบ้าง? ออกกำลังกายได้ไหม ?

การฉีดกระตุ้นรังไข่ด้วยฮอร์โมน

ช่วงกระตุ้นไข่ห้ามกินอะไรบ้าง? ออกกำลังกายได้ไหม ?

ในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการทำ IVF หนึ่งในขั้นตอนสำคัญคือการกระตุ้นให้ไข่ตก โดยในช่วงที่มีการกระตุ้นไข่นั้น ว่าที่คุณแม่ควรดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษเพื่อผลลัพธ์การกระตุ้นไข่ที่ดีที่สุด แต่ในการดูแลตนเองในช่วงนี้ควรมีวิธีการอย่างไร สามารถออกกำลังกายได้หรือไม่ รวมถึงในช่วงกระตุ้นไข่ห้ามกินอะไรบ้าง ? บทความนี้มีคำตอบมาบอกให้ครบ

การกระตุ้นไข่มีความสำคัญอย่างไร ?

กระบวนการกระตุ้นไข่ เป็นกระบวนการที่ช่วยกระตุ้นให้รังไข่ผลิตไข่ออกมามากกว่าปกติด้วยการใช้ยาฮอร์โมนกระตุ้นรังไข่ ซึ่งจะช่วยเตรียมร่างกายของว่าที่คุณแม่ให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ทำให้ทีมแพทย์สามารถเก็บไข่ที่สมบูรณ์ และมีคุณภาพได้ อีกทั้งยังเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิในการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IVF หรือ ICSI ได้อีกด้วย

ทำไมต้องดูแลตัวเองให้ดีในช่วงกระตุ้นไข่ ?

ในช่วงกระตุ้นไข่นั้น ว่าที่คุณแม่จำเป็นต้องดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดี เนื่องจากสุขภาพมีผลต่อการกระตุ้นไข่ ในเรื่องต่อไปนี้

1. เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ และเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด ล้วนส่งผลดีต่อความสมดุลของฮอร์โมนและคุณภาพของไข่ ซึ่งจะส่งผลให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น

2. ลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียง

เนื่องจากการฉีดยากระตุ้นไข่จะทำให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นการดูแลตัวเองให้ดี และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ จะช่วยให้ลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของการฉีดกระตุ้นฮอร์โมนได้

3. ช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และมั่นใจมากขึ้น

การดูแลตัวเองให้ดีในช่วงกระตุ้นไข่ ยังจะส่งผลดีต่อว่าที่คุณแม่เนื่องจากร่างกายที่สมดุล และแข็งแรงจะส่งผลต่อสภาพจิตใจ ซึ่งจะทำให้คุณผู้หญิงรู้สึกมีความพร้อมและมั่นใจในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากมากขึ้น

แนวทางการดูแลตัวเองในช่วงกระตุ้นไข่

การดูแลตัวเองให้ดีในช่วงกระตุ้นไข่จะส่งผลดีในหลาย ๆ เรื่อง โดยวิธีง่าย ๆ ที่สามารถทำได้มีดังนี้

1. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เน้นสารอาหารครบถ้วน

การทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และมีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ปลา เต้าหู้ รวมถึงผัก ผลไม้ และธัญพืชไม่ขัดสี จะส่งผลดีต่อการสร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมน การขาดสารอาหารใด ๆ ไป อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพและจำนวนของเซลล์ไข่ได้

2. ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

เนื่องจากการที่ระดับฮอร์โมนมีการเพิ่มขึ้น อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างเช่น ผิวแห้ง ปากแห้ง ดังนั้น ควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 2 ลิตร ก็จะช่วยให้ร่างกายชุ่มชื้นมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกายได้ดีด้วย อย่างไรก็ตามหากมีจำนวนไข่มาก การดื่มน้ำมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายบวมน้ำและมีปัญหาท้องอืดได้

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

นอกจากการทานอาหารและดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว การพักผ่อนก็สำคัญสำหรับว่าที่คุณแม่เช่นกัน เนื่องจากการพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงทำให้สามารถสร้างเซลล์ไข่ที่แข็งแรงได้ในปริมาณมากด้วยอีกด้วย

4. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ในช่วงกระตุ้นไข่ คุณผู้หญิงจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างเหมาะสม แต่ไม่ควรออกกำลังกายหนักเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการยกน้ำหนัก หรือออกกำลังกายที่ทำให้เหนื่อยมากเกินไป เพราะอาจนำไปสู่ภาวะเครียดจากการใช้พลังงานมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้กระบวนการตกไข่ผิดปกติ นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการวิ่ง และการกระโดดเพราะอาจทำให้เกิดภาวะรังไข่บิดขั้วที่เป็นอันตรายได้

5. ผ่อนคลายความเครียด

หากิจกรรมต่าง ๆ ที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดทำ เพราะจะช่วยส่งเสริมการสร้างไข่ได้ เพราะหากว่าเรามีความเครียด จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดออกมา และเมื่อระดับคอร์ติซอลสูงเกินไปอาจทำให้การสร้างและการหลั่งฮอร์โมนเพศหญิงถูกรบกวน และส่งผลต่อการสร้างเซลล์ไข่และการตกไข่ได้

6. เลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์

อีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในช่วงกระตุ้นไข่ก็คือการสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ร่างกายได้รับสารที่เป็นโทษต่อร่างกาย อีกทั้งนิโคตินในบุหรี่และแอลกอฮอล์ ยังจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งจะส่งผลต่อการสร้างและตกไข่เช่นกัน รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับผู้ที่กำลังสูบบุหรี่ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษจากควันบุหรี่แม้ไม่ได้สูบด้วยตนเอง

 

ช่วงกระตุ้นไข่ห้ามกินอะไรบ้าง ?

นอกจากการแนวทางการดูแลตัวเองในช่วงกระตุ้นไข่แล้ว ยังมีอาหารและเครื่องดื่มบางอย่างที่ควรหลีกเลี่ยงด้วย ได้แก่

อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนย มาการีน ไขมันสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันกรดปาล์ม พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ รวมถึงขนมอบต่าง ๆ

  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน เค้ก น้ำอัดลม น้ำผลไม้ ช็อกโกแลต คาราเมล ลูกอม และน้ำผึ้ง
  • อาหารหมักดอง เช่น ผักดอง ปลาร้า และซอสปรุงรสอย่างซีอิ๊วขาว และน้ำปลา
  • อาหารแปรรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไส้กรอก เบคอน แฮม รวมถึงอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งต่าง ๆ
  • อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • แอลกอฮอล์ คาเฟอีน เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้าแบบต่าง ๆ กาแฟ ชา และเครื่องดื่มบำรุงกำลัง

ช่วงกระตุ้นไข่ กินกาแฟได้ไหม ?

หากถามว่าในช่วงกระตุ้นไข่จะสามารถกินกาแฟได้ไหม คำตอบคือสามารถดื่มกาแฟได้บ้างหากจำเป็น แต่ควรดื่มให้น้อยที่สุด และเลือกกาแฟที่มีคาเฟอีนต่ำเท่านั้น ที่สำคัญคือไม่ควรดื่มกาแฟในช่วงเย็น หรือค่ำ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อการพักผ่อน

การทานอาหารที่มีประโยชน์ในช่วงกระตุ้นไข่

ช่วงกระตุ้นไข่ ออกกำลังกายได้ไหม ?

ช่วงกระตุ้นไข่คุณผู้หญิงสามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้ แต่ไม่ควรหักโหม หรือไม่ออกแรงมากเกินไป เนื่องจากอาจทำให้เกิดความเครียดในร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการกระบวนการผลิต และตกไข่ นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการวิ่งหรือการกระโดดเมื่อไข่โตแล้ว เพราะอาจทำให้เกิดภาวะรังไข่บิดขั้วที่เป็นอันตรายได้

 

การดูแลตัวเองในช่วงกระตุ้นไข่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับการตั้งครรภ์ได้ สำหรับคู่รักที่กำลังมองหาคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากที่ให้บริการอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การกระตุ้นไข่ การฝากไข่ และการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการต่าง ๆ เลือกปรึกษาสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร VFC Center เราพร้อมให้บริการ ทั้งให้คำปรึกษา ตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานระดับสากล

บทความโดย แพทย์หญิงวนากานต์ สิงหเสนา

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. Looking after yourself during IVF. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 จาก https://www.cope.org.au/planning-a-family/happening/looking-after-your-mind-and-body/
No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.