เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคือ การป้องกันโรคทางพันธุกรรมในลูกน้อย

ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน รู้อะไรบ้าง?

เชื่อว่าคู่รักที่กำลังเตรียมพร้อมเป็นคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทุกคน ไม่ว่าใครก็อยากให้ลูกน้อยเกิดมามีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และปลอดภัยจากโรคทางพันธุกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือโรคในกลุ่มดาวน์ซินโดรม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงเหล่านี้ได้ก็คือ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน สำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่คนไหน ที่อยากรู้ว่าการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร และหลังจากตรวจโครโมโซมตัวอ่อนแล้วจะได้รู้อะไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบมาฝากกัน!

 

การตรวจ PGD หรือการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร?

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือ การตรวจดูความผิดปกติของตัวอ่อน ก่อนที่จะนำไปฝังสู่ครรภ์มารดาในการทำ ICSI โดยจะนำโครโมโซมเหล่านั้นมาวินิจฉัยว่าตัวอ่อนมีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ หรือมีความผิดปกติที่โครโมโซมใด ซึ่งการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนี้จะเป็นการตรวจโครโมโซมทั้ง 23 คู่ รวมถึงโครโมโซมเพศด้วย 

นอกจากนี้ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ยังจะช่วยให้รู้ว่า ตนเองหรือคนในครอบครัวเป็นพาหะนำโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ อีกทั้งยังจะเป็นการป้องกันโรคทางพันธุกรรมในระดับยีนที่อาจเกิดในลูกน้อยอีกด้วย 

 

ข้อดีของการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนมีอะไรบ้าง?

ป้องกันการเกิดโรคทางพันธุกรรมที่จะเกิดขึ้นกับทารก

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนจะช่วยให้คุณสามารถป้องกันการเกิดโรคทางโครโมโซมในเด็กได้ ช่วยป้องกันไม่ให้พวกเขามีปัญหาทางด้านสุขภาพเมื่อเกิดมาในอนาคต 

ลดความจำเป็นในการยุติการตั้งครรภ์

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนฝังลงในครรภ์ จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติของตัวอ่อนก่อนที่จะสายเกินไป และหากตรวจพบแล้วก็ไม่จำเป็นต้องฝังตัวอ่อนลงไปในครรภ์ของมารดา อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวลงในครรภ์ แล้วตรวจพบความผิดปกติในภายหลัง อาจทำให้ต้องยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจของคุณแม่ได้ 

ลดโอกาสการเกิดของทารกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม ที่จะต้องได้รับการดูแลไปตลอดชีวิต

ความห่วงใยที่พ่อแม่มีให้กับลูกทำให้พ่อแม่ทุกคนอยากดูแลลูกให้ดีที่สุด อีกทั้งอยากเห็นลูกเติบโตไปเป็นบุคคลที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และดูแลตัวเองได้เป็นอย่างดีในวันที่คุณไม่สามารถดูแลพวกเขาได้อีกต่อไป ซึ่งความผิดทางโครโมโซมบางอย่างอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตของพวกเขา และอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมอง รวมถึงระดับสติปัญญาที่อาจต่ำกว่าคนทั่วไป 

 

ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน รู้อะไรบ้าง?

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน สามารถช่วยตรวจความผิดปกติในโครโมโซมและยีนที่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ โดยเราขอสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นว่าการตรวจในลักษณะนี้จะทำให้เรารู้ถึงเรื่องอะไรบ้าง   

  • รู้ถึงความผิดปกติทางโครโมโซม เช่น ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม ฮีโมฟีเลีย
  • ตาบอดสี และทรานสโลเคชั่น (การโยกย้ายหรือแลกเปลี่ยนส่วนของโครโมโซม)
  • รู้ถึงความผิดปกติในยีน เช่น เบเต้ธาลัสซีเมีย อัลฟ่าธาลัสซีเมีย ซิสติกไฟโบรซิสต์
  • รู้ถึงความผิดปกติภายในไมโตคอนเดรีย
  • รู้ถึงความผิดปกติในยีนที่มากกว่ายีนเดียว

การตรวจ PGD ป้องกันกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้

วิธีการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน 

การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เริ่มต้นโดยการดึงเซลล์ของตัวอ่อนเพียงเล็กน้อยในระยะฟักตัวอ่อน เพื่อนำมาวิเคราะห์ โดยปัจจุบันสามารถทำได้ 2 ระยะ คือ เมื่อตัวอ่อนอายุได้ 3 วัน และเมื่อตัวอ่อนอายุได้ 5 วัน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะเลือกทำเมื่อตัวอ่อนระยะ 5 วัน เพราะจะมั่นใจว่าได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง และเกิดความเสี่ยงต่อตัวอ่อนน้อยกว่า จากนั้นหากตรวจพบว่าตัวอ่อนไม่มียีนที่เป็นโรค ก็จะทำการย้ายกลับเข้าไปที่มดลูกของคุณแม่เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้อย่างสมบูรณ์

 

วางแผนการตั้งครรภ์และมีบุตรอย่างปลอดภัย ที่จะส่งผลดีต่อทั้งพ่อแม่และลูกน้อย สามารถมาปรึกษาและใช้บริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนฝังเข้าสู่มดลูกหรือการตรวจ PGD ได้ที่ศูนย์รักษาการมีบุตรยาก VFC Center เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเทคโนโลยีและเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ที่สามารถช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้อย่างตรงจุด

 

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ 

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร 

Hotline: 082-903-2035

LINE Official: @vfccenter  

 

บทความโดย: แพทย์หญิงศรมน ทรงวีรธรรม

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.