
แพ็กเกจทํา ICSI ราคา 269,000 บาท แบ่งชำระได้ 2 ครั้ง
เติมเต็มคำว่าครอบครัวให้สมบูรณ์ด้วย ICSI ULTIMATE PACKAGE แพ็กเกจทำอิ๊กซี่ (ICSI) ที่ครอบคลุม เพื่อการมีบุตรในอนาคต
แพ็กเกจทำอิ๊กซี่ (ICSI ULTIMATE PACKAGE) กี่บาท ราคาเท่าไร ?
สำหรับราคาแพ็กเกจการทำอิ๊กซี่ (ICSI ) ของ VFC อยู่ที่ 269,000 บาท ซึ่งสามารถแบ่งชำระได้ 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 วันกระตุ้นไข่ 100,000 บาท
- ครั้งที่ 2 วันเก็บไข่ 169,000 บาท
แพ็กเกจทำอิ๊กซี่ ค่าใช้จ่ายรวมอะไรบ้าง ?
แพ็กเกจการทำ ICSI จะครอบคลุมขั้นตอนทั้งหมดดังต่อไปนี้
- เริ่มกระบวนการเจาะเลือดทั้ง คุณผู้ชาย-คุณผู้หญิง
- กระบวนการกระตุ้นไข่ (ยากระตุ้นไข่ไม่จำกัดจำนวนโดส)
- ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางนัดตรวจติดตาม
- ตรวจติดตามอัลตราซาวนด์การเจริญเติบโตของฟองไข่
- เจาะเลือดติดตามฮอร์โมนระหว่างช่วงกระตุ้นไข่ (E2, LH)
- เตรียมความพร้อมก่อนเข้าห้องผ่าตัด เก็บไข่ เจาะเลือด ตรวจเบาหวาน และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (กรณีอายุมากกว่า 40 ปี)
- กระบวนการเก็บไข่
- กระบวนการ ICSI เพาะเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)
- ตรวจโครโมโซมตัวอ่อน 4 ตัว
- แช่แข็งตัวอ่อน 4 ตัว (ไม่เสียค่าบำรุงรักษา 1 ปี)
รายการที่ไม่รวมในแพ็กเกจการทำ ICSI
- ไม่รวมภาวะแทรกซ้อน
- เจาะเลือดโรคติดเชื้อทั้งคุณผู้ชายและคุณผู้หญิง
- ตรวจสุขภาพคู่เบื้องต้น คุณผู้ชายตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ คุณผู้หญิงอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่
จองแพ็กเกจทำ ICSI ตอนนี้ พร้อมรับเพิ่ม 1 รายการ ( มูลค่า 20,000 บาท )
เลี้ยงตัวอ่อนด้วยตู้ Embryoscope จำนวน 16 ตัวอ่อน
ICSI คืออะไร ? ทางเลือกสำหรับคู่สมรสที่มีบุตรยาก
ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) หรือที่เรียกว่า “การทําอิ๊กซี่” เป็นเทคนิคพิเศษในการทำเด็กหลอดแก้วที่แพทย์จะฉีดตัวอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง ซึ่งแตกต่างจากการทำเด็กหลอดแก้วทั่วไป (IVF) ที่ปล่อยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเอง โดย ICSI จะมีราคาค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการทำ IVF แต่ก็เป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะในกรณีที่คุณผู้ชายมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของอสุจิหรือมีจำนวนอสุจิน้อย
ทำไมต้องเลือกแพ็กเกจการทำ ICSI ?
การทำอิ๊กซี่หรือ ICSI เป็นเทคโนโลยีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีจุดเด่นสำคัญดังต่อไปนี้
- เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าการทำ IVF ในกรณีที่คุณผู้ชายมีปัญหาอสุจิผิดปกติ
- แก้ไขปัญหาอสุจิคุณภาพต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ในกรณีที่มีไข่จำนวนน้อยหรือมีคุณภาพไม่สมบูรณ์
ใครบ้างที่เหมาะกับแพ็กเกจการทำ ICSI ?
- คุณผู้ชายที่มีอสุจิน้อย เคลื่อนไหวช้า หรือรูปร่างผิดปกติ
- คู่รักที่เคยทำ IVF มาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการปฏิสนธิ
- ฝ่ายชายที่ต้องเก็บน้ำเชื้อด้วยการเจาะดูดจากอัณฑะ
- ฝ่ายหญิงที่มีไข่เปลือกแข็งหรือคุณภาพไข่ไม่ดี
- คู่สมรสที่ต้องการตรวจคัดกรองพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อน
การทำอิ๊กซี่ (ICSI) ต่างจากเด็กหลอดแก้วทั่วไป (IVF) อย่างไร ?
- วิธีการผสมไข่และอสุจิ : ในการทำ IVF ทั่วไป แพทย์จะนำอสุจิและไข่มาผสมกันในจานเพาะเลี้ยง แล้วปล่อยให้อสุจิเข้าไปในไข่เองเพื่อทำการปฏิสนธิ แต่ในการทำ ICSI แพทย์จะใช้เครื่องมือพิเศษฉีดอสุจิที่สมบูรณ์เพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่โดยตรง ทำให้โอกาสในการปฏิสนธิมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ความเหมาะสม : IVF เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน ไม่ตกไข่ หรือมีบุตรยากโดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วน ICSI เหมาะกับกรณีที่ฝ่ายชายมีปัญหาอสุจิน้อยหรือผิดปกติ
- อัตราความสำเร็จ : การทำ ICSI มีอัตราการปฏิสนธิที่สูงกว่า IVF โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัญหาด้านอสุจิ ทำให้ได้ตัวอ่อนจำนวนมากกว่า เพื่อเลือกตัวที่ดีที่สุด
- ค่าใช้จ่าย : การทำอิ๊กซี่ (ICSI) มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการทำ IVF เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมากกว่า
แพ็กเกจการทำ ICSI มีขั้นตอนอะไรบ้าง ?
สำหรับค่าใช้จ่ายในแพ็กเกจการทำอิ๊กซี่ราคา 269,000 บาท จะครอบคลุมขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้
- กระตุ้นไข่ ฝ่ายหญิงจะได้รับยากระตุ้นการตกไข่เพื่อให้เกิดไข่หลายใบพร้อมกัน โดยมีการติดตามด้วยอัลตราซาวนด์และตรวจระดับฮอร์โมน
- เก็บไข่ เมื่อไข่เติบโตได้ขนาด แพทย์จะทำการเก็บไข่ วิธีนี้ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที
- เก็บน้ำเชื้อ ฝ่ายชายต้องงดการหลั่งน้ำอสุจิ 2-5 วันก่อนวันเก็บไข่ และเก็บน้ำเชื้อในวันเดียวกับการเก็บไข่
- ทำ ICSI แพทย์จะคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงที่สุดและฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงด้วยเข็มขนาดเล็กพิเศษ
- เพาะเลี้ยงตัวอ่อน หลังจากปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการพิเศษเป็นเวลา 5-6 วัน จนถึงระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst)
- ตรวจพันธุกรรมตัวอ่อน (PGT) ตัวอ่อนจะได้รับการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมก่อนการย้ายกลับสู่โพรงมดลูก
- ย้ายตัวอ่อน เมื่อผลการตรวจพันธุกรรมเรียบร้อยและร่างกายของฝ่ายหญิงพร้อม แพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ การย้ายตัวอ่อนรอบสด (Fresh Embryo Transfer) โดยจะทำในรอบเดียวกับการเก็บไข่ และการย้ายตัวอ่อนแบบแช่แข็ง (Frozen Embryo Transfer) ซึ่งจะแช่แข็งตัวอ่อนเอาไว้และย้ายในรอบเดือนถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินความพร้อมของร่างกายฝ่ายหญิงและดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจทำ ICSI
ก่อนตัดสินใจเลือกแพ็กเกจการทำ ICSI ควรพิจารณาปัจจัยดังต่อไปนี้
- โอกาสสำเร็จของ ICSI อยู่ที่ 40-60% ต่อรอบ ขึ้นอยู่กับอายุและสุขภาพโดยรวม
- ฝ่ายหญิงอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะกระตุ้นรังไข่มากเกินไป (OHSS)
- ผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี มีโอกาสสำเร็จน้อยลง แต่ยังสูงกว่าวิธีอื่น
- จำนวนและคุณภาพของไข่มีผลอย่างมากต่อความสำเร็จ
- การทำ ICSI อาจต้องทำหลายรอบเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แพ็กเกจการทำ ICSI แพงไหม เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ และคุ้มค่าหรือไม่ ?
แม้ว่าการทำ ICSI อาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่เมื่อพิจารณาจากโอกาสความสำเร็จ รวมถึงระยะเวลารักษาที่สั้นกว่า และการที่ไม่ต้องผ่านความผิดหวังจากการรักษาด้วยวิธีอื่นหลายครั้ง จึงถือว่าคุ้มค่าในระยะยาว
หลังการเก็บไข่เพื่อทำ ICSI จะมีอาการข้างเคียงอะไรบ้าง ?
หลังเก็บไข่ คุณผู้หญิงอาจรู้สึกปวดท้องน้อยคล้ายกับปวดประจำเดือน ซึ่งมักจะหายไปภายใน 1-2 วัน อย่างไรก็ตาม หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีไข้ เวียนหัว หรือปัสสาวะน้อยลงมาก ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน
แพ็กเกจทำ ICSI ใช้เวลานานแค่ไหนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงย้ายตัวอ่อน ?
โดยรวมแล้ว แพ็กเกจการทำ ICSI จะใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ ระยะเวลาอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อการรักษา
VFC (V-Fertility Center) ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร มีอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูง 81.66% ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยระดับสากล JCI และเป็นที่แรกได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์เฉพาะรายโรคระดับสากล World’s First CCPC for Infertility Program
บทความที่เกี่ยวข้อง
- อยากมีลูกต้องรู้ การทำอิ๊กซี่ คืออะไร มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร?
- เช็กลิสต์ถึงเวลาหรือยังที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเด็กหลอดแก้ว?
- เรื่องราวสุดประทับใจของคุณผกามาศและคุณวัฒศิษย์ ทำ ICSI สำเร็จได้ที่ VFC
จองแพ็กเกจทำ ICSI (ICSI ULTIMATE PACKAGE)

ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.