เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

เสี่ยงเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกหนา ควรปรึกษาศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

คลินิกมีบุตรยาก ให้คำปรึกษาปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกหนา

ในปัจจุบัน พบว่าคู่รักที่มีบุตรยากเข้าไปใช้บริการที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากในเพศหญิงเกิดภาวะมีบุตรยากมากกว่าเมื่อก่อน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งพฤติกรรมการกิน เรื่องของสภาพแวดล้อม กรรมพันธ์ุ รวมถึงปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ อย่างปัญหาเกี่ยวกับเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการมีบุตรยากแล้ว ยังอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้

 

เยื่อบุโพรงมดลูกสำคัญอย่างไร?

เยื่อบุโพรงมดลูก คือเยื่อบุผิวของผนังด้านในมดลูกที่ทำหน้าที่สร้างประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน รวมถึงมีหน้าที่ในการฝังตัวอ่อนจนทำให้เกิดการตั้งครรภ์ ซึ่งความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกมีความสำคัญต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งหากเยื่อบุโพรงมดลูกมีความผิดปกติก็อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้ 

 

ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกส่งผลอย่างไร?

ปกติแล้วเยื่อบุโพรงมดลูกของแต่ละคน จะมีความหนาที่ไม่เท่ากันในแต่ละรอบเดือน ซึ่งจะหนาที่สุดในช่วงตกไข่ หลังจากนั้นความหนาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงเพื่อรอให้ตัวอ่อนมาฝังตัว แต่หากไม่มีการฝังตัว เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือนและจะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นใหม่อีกครั้งในช่วงตกไข่รอบเดือนถัดไป 

โดยความหนาที่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนจะอยู่ที่ประมาณ 8-14 มิลลิเมตร หากบางเกินไปก็จะทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ยาก และหากเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไปก็อาจเสี่ยงทำให้มีลูกยากได้เช่นกัน ซึ่งหากปัญหานี้เกิดขึ้นสามารถบ่งบอกได้ถึงภาวะการตกไข่ที่ผิดปกติ หรือไม่มีการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่ลอกตัว จนเกิดการสะสมเป็นความหนาที่เพิ่มขึ้น 

สำหรับปัจจัยที่อาจส่งผลทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกตินั้น มีได้ดังนี้

  • อายุที่มากขึ้น โดยช่วงอายุที่เสี่ยง คือมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
  • เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน มีประจำเดือนช้า
  • มีโรคแทรกซ้อน เช่น ภาวะอ้วน โรคเบาหวาน ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ 
  • ได้รับยาหรือฮอร์โมนบางชนิดเป็นเวลานานและมากเกินไป เช่น ยาในกลุ่ม Selective Estrogen Receptor Modulators (SERMs) อย่าง Tamoxifen หรือ Raloxifen รวมถึงการได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากแหล่งภายนอกร่างกาย
  • ปัจจัยภายนอกอื่น ๆ ได้แก่ การสูบบุหรี่ และการกลายพันธุ์ของยีนส์

 

สังเกตให้ดี อาการเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ

อาการต้องสงสัย ที่เสี่ยงกับการเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ ที่ควรแวะไปปรึกษากับคลินิกมีบุตรยากเพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดมีดังนี้

  • ประจำเดือนไม่มา 3-4 เดือน และเมื่อมาแล้วจะมีปริมาณมากผิดปกติ
  • มีอาการเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด
  • มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หน้ามัน เป็นสิว
  • มีขนตามตัวเพิ่มมากขึ้น หน้าอกแฟบลง รวมถึงอาจมีเสียงห้าวขึ้น
  • ปวดท้องประจำเดือน

 

การเข้ารับการรักษา

ก่อนการรักษาจะต้องผ่านการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ เพื่อเช็กความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก แต่อาจมีการตรวจเพิ่มหากมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ด้วยการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการขูดมดลูกเพื่อนำตัวอย่างไปวิเคราะห์ รวมถึงการส่องกล้องดูความผิดปกติภายในมดลูก ซึ่งหากผลการตรวจพบว่าเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ในภาวะที่ไม่รุนแรง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากจะให้คำแนะนำในการควบคุมอาหาร รวมถึงการออกกำลังกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยง แต่หากพบว่าอาการเริ่มส่งผลต่อสุขภาพและการมีลูก อาจจะต้องเข้าสู่การรักษาตามความรุนแรงที่เกิดขึ้น ดังนี้

  1. สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยซึ่งโรคอาจยังไม่รุนแรงมาก แพทย์จะให้การรักษาด้วยการใช้ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนสังเคราะห์ โดยจะให้รับประทานอย่างน้อย 3-6 รอบเดือน แล้วทำการดูดเนื้อในโพรงมดลูกเพื่อดูถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น 
  2. สำหรับผู้ที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำ เช่น มีการตกไข่ไม่สม่ำเสมอเรื้อรัง หรือเป็นโรคอ้วนจนไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แพทย์จะพิจารณาให้รับฮอร์โมนต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นยารับประทานหรือห่วงอนามัยที่มีฮอร์โมนใส่ในโพรงมดลูก เพื่อป้องกันในระยะยาว
  3. สำหรับผู้ที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกความหนามากและไม่ต้องการมีบุตรแล้ว การผ่าตัดเอามดลูกออกถือเป็นการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งโพรงมดลูกในอนาคตที่ดีที่สุด

 

มาวางแผนครอบครัวให้พร้อม และร่วมหาทางออกไปด้วยกันตั้งแต่เริ่มต้น! หากพบอาการผิดปกติที่เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก สามารถเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทันทีที่ VFC Center ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก เพื่อวางแผนและทำการรักษา เพื่อแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

 

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ 

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร 

Hotline : 082-903-2035

Line : @vfccenter  

 

บทความโดย: แพทย์วรวัฒน์ ศิริปุณย์

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.