เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

สำรวจด่วน! พฤติกรรมที่ควรไปตรวจภาวะมีบุตรยาก

ตรวจพฤติกรรมก่อนเข้าประเมินภาวะมีบุตรยาก

สำหรับคู่รักที่อยากมีลูก แต่พยายามเท่าไรก็ยังไม่เห็นผล นอกจากปัญหาพันธุกรรมแล้ว เรื่องของพฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนเช่นกัน นั่นทำให้การไปตรวจร่างกายเพื่อประเมินภาวะมีบุตรยากก็จะเป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะช่วยให้คู่รักรู้ถึงความผิดปกติของตัวเอง ว่าเกิดภาวะมีบุตรยากหรือไม่ สำหรับใครที่สงสัยว่า พฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนบ้างที่จะส่งผลต่อการเกิดภาวะนี้ ตามมาเช็กลิสต์สาเหตุกันได้เลย

1. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่มากเกินไป

แน่นอนว่า สิ่งที่เรารับเข้าสู่ร่างกายย่อมส่งผลต่อการมีบุตรทั้งนั้น ตั้งแต่การกิน การดื่ม รวมถึงพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่มากจนเกินไป ที่จะส่งผลต่อการเกิดภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์และสูบุหรี่จัดจะสร้างผลกระทบต่อระบบเจริญพันธุ์ อีกทั้งยังทำให้การดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่าง ๆ ลดลง ซึ่งในท้ายที่สุดความสามารถในการผลิตอสุจิก็จะมีปริมาณที่ลดลง รวมถึงอสุจิที่ได้ยังไม่มีความแข็งแรงและไม่มีคุณภาพ ทำให้ลดโอกาสในการมีบุตรไปถึง 50% ทีเดียว
สำหรับคู่รักคู่ใดที่พยายามมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติมานานกว่า 1 ปี แล้วยังไม่ได้ผล การตรวจเพื่อประเมินภาวะมีบุตรยาก ก็จะทำให้รู้ถึงสาเหตุ และสามารถหาทางแก้ไขได้ในลำดับถัดไป

2. มีความเครียดสะสม

ความเครียดไม่ได้ส่งผลแค่สุขภาพจิตเท่านั้น แต่ยังส่งผลกับระบบภายในร่างกายด้วย เพราะอารมณ์ที่แปรปรวนจากปัญหาสุขภาพจิตจะส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายทั้งหมด รวมถึงระบบที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ โดยในเพศหญิงความเครียดจะทำให้ปีกมดลูกเกิดการหดเกร็ง ไข่ไม่เจริญเติบโต หรือไม่ตกตามเวลา รวมถึงยังอาจรบกวนไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วให้ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้ยากขึ้น สำหรับในเพศชาย ความเครียดจะส่งผลให้ร่างกายผลิตอสุจิได้น้อยลง ซึ่งพบว่ามีหลายคู่ที่เกิดความเครียดสะสมด้วยสาเหตุการมีบุตรยาก

สิ่งสำคัญที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือการเข้าตรวจภาวะมีบุตรยากเพื่อหาสาเหตุ และเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงคอยเป็นกำลังใจให้กันและกัน ยิ่งในปัจจุบันหากได้รับการประเมินว่าเกิดภาวะมีบุตรยาก ยังสามารถหาวิธีการรักษาที่จะช่วยให้คุณมีบุตรได้อย่างที่วางแผนเอาไว้ด้วย

3. ปล่อยให้น้ำหนักตัวเกิน

คู่รักหลายคู่อาจไม่คาดคิดว่าน้ำหนักตัวและโรคอ้วนจะส่งผลต่อการมีบุตรยาก แต่มีผลงานวิจัยที่น่าเชื่อถือระบุเอาไว้ว่า ฝ่ายหญิงที่มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานจะตั้งครรภ์ได้ยากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติถึง 3 เท่า เนื่องจากผู้หญิงที่มีภาวะอ้วน จะมีฮอร์โมนเพศชายที่สูงกว่าปกติ จึงลดโอกาสที่ไข่จะตก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ ทำให้ทารกเติบโตช้าขณะอยู่ในครรภ์ และร้ายแรงที่สุดคืออาจเพิ่มโอกาสความเสี่ยงในการแท้งตั้งแต่ช่วง 3 เดือนแรก และสำหรับผู้ชายที่มีภาวะอ้วน ก็จะส่งผลต่อความแข็งแรงของสเปิร์มด้วยเช่นกัน

4. ไม่ออกกำลังกาย

นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและได้เผาผลาญไขมันแล้ว การออกกำลังกายยังเป็นการเพิ่มสมรรถภาพ ที่สามารถช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ รวมถึงยังช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ทำให้ระบบเจริญพันธุ์สามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ อีกทั้งการออกกำลังกายในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ยังสามารถช่วยลดอาการปวดหลัง และป้องกันการเกิดโรคที่เสี่ยงต่อการตั้งครรถ์ เช่น ภาวะเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ได้อีกด้วย

5. เลิกพฤติกรรมกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า อาหารที่กินเข้าไปจะส่งผลโดยตรงกับร่างกายและการมีบุตร ดังนั้นการกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์เป็นเวลานาน ๆ หรือกินแต่อาหารประเภทเดิมซ้ำ ๆ จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และทำให้ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญที่จะไปช่วยดูแลระบบภายใน และอาจส่งผลต่อระบบเจริญพันธ์ุ ดังนั้นการเลือกกินอาหารทุกชนิดอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่หลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่ควรทานเป็นประจำ

6. ดื่มกาแฟเกินวันละสองแก้ว

ถึงแม้คาเฟอีนในกาแฟจะมีส่วนช่วยในการทำให้ร่างกายสดชื่น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะมีบุตร นี่คือสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากคาเฟอีนทำให้การหลั่งอสุจิในผู้ชายลดลง และสำหรับผู้หญิง พบว่าคาเฟอีนออกฤทธิ์ชะลอการตั้งครรภ์ ที่สำคัญยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้อีกด้วย เพราะคาเฟอีนจะถูกย่อยเป็นสาร Paraxanthine ซึ่งสามารถถูกดูดซึมผ่านรกและเยื่อหุ้มสมองของเด็กและเข้าไปยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ ทำให้ทารกหยุดการพัฒนาตัวอ่อน จึงไม่ควรดื่มสารคาเฟอีนเกินวันละ 200 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเกินวันละ 2 แก้ว

7. ปนเปื้อนสารเคมี

ในปัจจุบันมีสารเคมีหรือสิ่งปนเปื้อนอยู่เป็นจำนวนมาก ที่มาพร้อมกับสิ่งแวดล้อมและอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ทั้งสารเคมีจากเครื่องสำอาง หรือจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสารโลหะหนักอย่างตะกั่วที่มักปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ซึ่งหากเกิดการสะสมในร่างกาย ก็จะส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ ทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติจนส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้

หากลองประเมินภาวะมีบุตรยากด้วยตัวเองตามลิสต์เหล่านี้แล้วพบว่า มีพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงเกินครึ่ง สามารถเข้ามาตรวจภาวะมีบุตรยาก พร้อมรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่ VFC Center ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ที่มีนวัตกรรมและเครื่องมืออันทันสมัยได้มาตรฐาน พร้อมการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงและนำไปประเมินเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ต่อไป

ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline : 082-903-2035
Line : @vfccenter

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.