เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

ย้ายตัวอ่อนแบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ?

ย้ายตัวอ่อน

ย้ายตัวอ่อนแบบไหน ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ?

หนึ่งในขั้นตอนของการทำ ICSI ที่สำคัญก็คือการย้ายตัวอ่อน ซึ่งตัวอ่อนที่เพาะเลี้ยงขึ้นมาก่อนที่จะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกนั้น จะมีอายุตั้งแต่ 1-7 วัน โดยช่วงวันที่ 3 จะถูกเรียกว่าระยะ Cleavage และตัวอ่อนที่มีอายุ 5-6 วัน จะเป็นช่วงระยะ Blastocyst และการเพาะเลี้ยงหรือแช่แข็งตัวอ่อน เพื่อจะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ การย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็ง และการย้ายตัวอ่อนในรอบสด 

การย้ายตัวอ่อนในรอบแช่แข็ง 

คือ การย้ายตัวอ่อน หลังจากที่มีการใช้ยากระตุ้นไข่และเก็บไข่ที่ผสมเป็นตัวอ่อน แช่แข็งไว้เพื่อเตรียมย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกในรอบเดือนถัดไป แต่จะมีขั้นตอนก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกเพิ่มขึ้น คือ การละลายตัวอ่อนหลังจากแช่แข็งแล้ว แต่หากใช้เทคนิคที่ดีในการแช่แข็งจะไม่ทำให้คุณภาพของตัวอ่อนลดลง และจะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าการย้ายตัวอ่อนในรอบสด 

การย้ายตัวอ่อนรอบสด

การย้ายตัวอ่อนหลังจากกระตุ้นและเก็บไข่ทันที ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้คุณภาพของตัวอ่อนอยู่ครบสมบูรณ์ไม่ลดลง เนื่องจากไม่ต้องละลายตัวอ่อนและไม่ต้องผ่านกระบวนการแช่แข็งก่อนนำเข้าสู่โพรงมดลูก

แต่สิ่งสำคัญอีกข้อในการย้ายตัวอ่อน คือ อายุและระยะของตัวอ่อนที่เหมาะสมในการย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก ก่อนหน้านี้การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูกจะนิยมทำกันในช่วงระยะ Cleavage (อายุ 3 วัน) แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ดีขึ้น และสามารถเลี้ยงในห้องปฏิบัติการได้นานมากขึ้นจนถึงระยะ Blastocyst (5-6 วัน)  ทั้งนี้การย้ายตัวอ่อนในระยะ Blastocyst เข้าสู่โพรงมดลูก จะมีโอกาสการตั้งครรภ์มากกว่าระยะ Cleavage เนื่องจากตัวอ่อนจะมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และสามารถฝังตัวเพื่อการตั้งครรภ์ในลำดับต่อไปได้มากกว่า จึงทำให้นิยมย้ายตัวอ่อนในระยะ Blastocyst มากขึ้น 

การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ Blastocyst

เริ่มจากการฉีดยากระตุ้นไข่ให้ฝ่ายหญิงมีการผลิตไข่ออกมาในปริมาณที่มากขึ้น และนำมาปฏิสนธิกับน้ำเชื้อของฝ่ายชาย หลังจากการปฏิสนธิและได้ตัวอ่อนมา ทางทีมแพทย์และนักวิทยาศาตร์จะนำตัวอ่อนที่ได้มาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ในขั้นตอนนี้ตัวอ่อนจะมีการแบ่งตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์ รวมถึงพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 5-6 จะได้ตัวอ่อนที่เติบโตจนถึงระยะ Blastocyst ก่อนจะนำเข้าสู่โพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนได้ฝังตัว 

แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณี ตัวอ่อนที่เพาะเลี้ยงอาจจะไม่สมบูรณ์แข็งแรงและไม่สามารถมีอายุอยู่ได้ถึงวันที่ 5-6 ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะ Blastocyst 

ดังนั้น วิธีการที่จะรู้ถึงความแข็งแรงของตัวอ่อนก่อนจะย้ายเข้าสู่โพรงมดลูกก็คือ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อเพิ่มความมั่นใจว่าตัวอ่อนที่จะย้ายนั้นมีความสมบูรณ์ แข็งแรง และมีโอกาสฝังตัวในมดลูกได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงเรื่องการแท้งบุตร 

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร พร้อมให้บริการรักษาและดูแลผู้มีบุตรยาก ครบครันด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย
โดยทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน ให้ผู้ใช้บริการทุกท่านได้มั่นใจกับอัตราการตั้งครรภ์ที่สำเร็จสูงถึง 88.61% 

 

ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดปรึกษาและวางแผนกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร 

📞 Hotline : 082-903-2035

📱 Line : @vfccenter 

📖 อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/

 

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.