เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

การตรวจสเปิร์ม เพื่อวางแผนการมีบุตร

คุณภาพน้ำเชื้ออสุจิ

ปัญหาการมีบุตรยากเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน จากการสำรวจพบว่า มีผู้ประสบปัญหามีบุตรยากสูงถึงร้อยละ 15 จากประชากรทั้งหมด ซึ่งหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือเรื่องคุณภาพของน้ำเชื้ออสุจิในเพศชาย การตรวจอสุจิจึงเป็นขั้นตอนที่สามารถช่วยวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาการมีบุตรยากได้ 

เมื่อไหร่ที่ควรตรวจน้ำเชื้ออสุจิ ?

สำหรับใครที่กำลังวางแผนมีบุตร และพบว่าตนเองมีภาวะเหล่านี้ แนะนำให้ไปตรวจน้ำเชื้ออสุจิว่าเข้าเกณฑ์ของภาวะมีบุตรยากหรือไม่ 

  • ปริมาณการหลั่งน้ำอสุจิมีจำนวนน้อย : หากสังเกตเห็นว่าปริมาณน้ำอสุจิที่หลั่งออกมามีน้อยกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของปัญหาการผลิตอสุจิ
  • อสุจิมีความข้นหนืดน้อยลงกว่าปกติ : ความข้นหนืดของน้ำอสุจิเป็นตัวบ่งชี้ถึงคุณภาพของอสุจิ หากพบว่ามีลักษณะเหลวกว่าปกติ ควรไปปรึกษาแพทย์
  • มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานหลายปี : เช่น การสูบบุหรี่จัด ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ พักผ่อนน้อย พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพอสุจิทั้งสิ้น 
  • มีประวัติเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ : โรคบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและคุณภาพของอสุจิ
  • ผู้ที่ต้องการวางแผนการมีบุตร : แม้ไม่มีอาการผิดปกติ การตรวจสเปิร์มก่อนวางแผนมีบุตรจะช่วยให้ทราบถึงความพร้อมของร่างกาย

การเตรียมตัวก่อนตรวจน้ำเชื้ออสุจิ

การเตรียมตัวที่ถูกต้องก่อนการตรวจน้ำเชื้ออสุจิเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผลการตรวจมีความแม่นยำมากที่สุด โดยมีข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

  • งดหลั่งอสุจิอย่างน้อย 2-7 วัน เพราะหากมีการหลั่งมาก่อนตรวจจะส่งผลให้ปริมาณน้ำอสุจิและสเปิร์มลดลง 
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ อย่างน้อย 2-3 วันก่อนตรวจ
  • พักผ่อนให้เพียงพอและลดความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการผลิตอสุจิ เช่น อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินอี และสังกะสี

ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของอสุจิ เพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตร

คุณภาพของอสุจิไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเท่านั้น แต่มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น

  • อายุ : แม้ว่าผู้ชายจะสามารถผลิตอสุจิได้ตลอดชีวิต แต่คุณภาพและปริมาณจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
  • อุณหภูมิ : อัณฑะต้องการอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกายเพื่อผลิตอสุจิที่มีคุณภาพ การสวมใส่กางเกงที่รัดแน่นเกินไปหรือการแช่น้ำร้อนบ่อย ๆ อาจส่งผลเสียต่อการผลิตอสุจิ
  • สารพิษและมลพิษ : การสัมผัสกับสารเคมีหรืออาศัยในพื้นที่ที่มีมลพิษสูงอาจส่งผลต่อคุณภาพอสุจิ
  • โรคประจำตัว : โรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคทางฮอร์โมน อาจส่งผลต่อการผลิตและคุณภาพของอสุจิได้เช่นกัน 
  • ยาบางชนิด : ยาบางประเภทอาจส่งผลต่อการผลิตอสุจิ ควรปรึกษาแพทย์หากกำลังวางแผนมีบุตร 

ภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย สัญญาณเตือนที่ไม่ควรมองข้าม

การรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ถึงภาวะมีบุตรยากในผู้ชายเป็นสิ่งสำคัญ การเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับการมีบุตรได้

  • อสุจิใสผิดปกติ : สำหรับคุณผู้ชายที่สงสัยว่าอสุจิใสมีโอกาสท้องไหม ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว อสุจิที่ใสเกินไปอาจบ่งชี้ถึงปัญหาในการผลิตอสุจิ แม้จะมีโอกาสทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ แต่โอกาสจะน้อยลงมาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
  • ปริมาณอสุจิที่หลั่งออกมาน้อยกว่าปกติ : ปริมาณอสุจิปกติควรมีมากกว่า 1.5 มิลลิลิตรต่อการหลั่งหนึ่งครั้ง หากน้อยกว่านี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะมีบุตรยาก
  • อสุจิผิดปกติ : ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถสังเกตรูปร่างของอสุจิได้ด้วยตาเปล่า แต่การเข้ารับการตรวจจะช่วยให้เราเข้าใจถึงภาวะที่ทำให้มีลูกยากได้ เช่น อสุจิหัวใหญ่เกินไป มีหางสั้น หรือมีหลายหาง ลักษณะเหล่านี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการปฏิสนธิ
  • การเคลื่อนที่ของอสุจิ : อสุจิที่เคลื่อนที่ช้าหรือไม่เคลื่อนที่เลย อาจทำให้โอกาสในการปฏิสนธิลดลง

บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ

การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อเป็นขั้นตอนสำคัญในการประเมินภาวะเจริญพันธุ์ของผู้ชาย ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ทำให้การตรวจคุณภาพของน้ำเชื้อสามารถให้ข้อมูลที่ละเอียดและแม่นยำ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้ที่ต้องการตรวจน้ำเชื้อผู้ชาย เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อ ทาง VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรขอเสนอโปรแกรม CASA (Computer-Assisted Semen Analysis) ซึ่งก็คือเทคโนโลยีการตรวจน้ำเชื้อที่ทันสมัยด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีความละเอียด แม่นยำ สามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด 

 

บทความโดย แพทย์วรวัฒน์ ศิริปุณย์

ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับบริการและปรึกษากับแพทย์ได้ที่ 

VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร 

Hotline : 082-903-2035

Line : @vfccenter 

อ่านบทความสุขภาพ : https://www.v-ivf.com/article/

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.