เปิดทุกวัน 8:00 น. - 17.00 น

เวลาทำการ

Follow Us

บทความสุขภาพ

คุณแม่ที่ตั้งท้องกำลังจะตรวจเพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21

ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21 เกิดจากอะไร?

แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนล้วนปรารถนาให้ลูกน้อยมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แต่อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยบางอย่างที่ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด เช่น ภาวะโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งสามารถส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงอาจทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็กในอนาคต การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครโมโซมและการตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจและเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น มารู้จักกันก่อน โครโมโซมคืออะไร? โครโมโซม (Chromosome) คือ หน่วยพันธุกรรมที่ประกอบไปด้วย DNA และโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติจะมีโครโมโซม 46 แท่งหรือ 23 คู่ โดยได้รับมาจากพ่อและแม่อย่างละครึ่ง บทบาทของโครโมโซมที่ส่งผลต่อมนุษย์ ลักษณะทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก เช่น สีผม สีผิว สีตา ไปจนถึงความสูงและเพศ การควบคุมการทำงานของเซลล์ ไปจนถึงการควบคุมการแบ่งเซลล์ในร่างกายของเรา กำหนดเพศ โดยจะกำหนดว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง โดยผู้หญิงจะมีโครโมโซม XX แต่ผู้ชายมีโครโมโซม XY ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดยจะอยู่ในทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย  โครโมโซมมีความสำคัญอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตทุกสายพันธุ์ เพราะเป็นหน่วยที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม และช่วยให้เติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากโครโมโซมผิดปกติ เช่น มีโครโมโซมเกิน (Trisomy) หรือขาดหายไป (Monosomy) อาจทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21 ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมเหล่านี้มักส่งผลให้เกิดกลุ่มอาการที่รุนแรงและอาจส่งผลให้เสียชีวิตได้  ภาวะผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21 โครโมโซมที่เกินหรือขาดไปแม้แต่เพียง 1 แท่งก็ส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 13, 18 และ 21 ทำให้มีการเจริญเติบโตที่ไม่สมบูรณ์หรือผิดปกติ...

กรดโฟลิกมีประโยชน์สำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์

กรดโฟลิกกับการตั้งครรภ์ : ประโยชน์ที่คุณแม่ต้องรู้

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นพิเศษ ซึ่งหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีบทบาทต่อสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการของทารกในครรภ์ก็คือ กรดโฟลิก (Folic Acid) อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า กรดโฟลิกคืออะไร และมีความจำเป็นต่อการตั้งครรภ์เพียงใด เพื่อช่วยให้คุณแม่ดูแลสุขภาพของตนเองและลูกน้อย เราจะพาไปทำความเข้าใจถึงประโยชน์ของสารอาหารชนิดนี้ ว่าหากได้รับอย่างเพียงพอจะส่งผลต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง  กรดโฟลิกคืออะไร? กรดโฟลิก (Folic Acid) คือสารอาหารในกลุ่มวิตามินบี หรือที่เรียกว่า วิตามินบี 9 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ในร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ระบบประสาท กรดโฟลิกจำเป็นต่อการทำงานของ DNA และ RNA รวมถึงมีส่วนช่วยในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ในร่างกาย กรดโฟลิกมีประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไร ? ประโยชน์ต่อทารกในครรภ์ กรดโฟลิกเป็นสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบประสาทและสมองของทารก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นระยะที่เซลล์ต่าง ๆ กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับกรดโฟลิกในปริมาณที่เพียงพอจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะผิดปกติแต่กำเนิดได้ เช่น ป้องกันและลดความผิดปกติของระบบประสาท ทั้งภาวะไม่มีเนื้อสมอง ภาวะไขสันหลังไม่ปิดจากการขาดโฟลิก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดของทารก ลดโอกาสเกิดความผิดปกติของแขนขา ทำให้พัฒนาการด้านโครงสร้างร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ป้องกันการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ได้ประมาณ 1 ใน 3 ของกรณีที่เกิดขึ้น ช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และโรคไม่มีรูทวารหนัก (Imperforate Anus) ประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ นอกจากประโยชน์ต่อทารกแล้ว กรดโฟลิกยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ด้วย ลดความเสี่ยงของภาวะโลหิตจาง โดยทำงานร่วมกับธาตุเหล็กในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่น ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะแท้งบุตร และภาวะครรภ์เป็นพิษ ช่วยให้รกทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งเสริมการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปสู่ทารก สนับสนุนการเจริญเติบโตของมดลูก ให้สามารถขยายตัวรองรับทารกที่กำลังเติบโต ปริมาณวิตามินโฟลิกแบบเม็ดที่ควรรับประทาน เพื่อประโยชน์ต่อการตั้งครรภ์ การได้รับกรดโฟลิกในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยคำแนะนำในการรับประทานกรดโฟลิกมีดังนี้ หญิงตั้งครรภ์ทั่วไป : ควรได้รับกรดโฟลิกอย่างน้อย 0.4 มิลลิกรัม (400...

แพทย์ตรวจหาภาวะ Mosaicism คือการลดความเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์

ภาวะ Mosaicism และตัวอ่อน Mosaic ป้องกันได้หากรู้วิธี

ความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อโอกาสตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารก โดยเฉพาะภาวะที่เซลล์ของตัวอ่อนมีความแตกต่างกันในระดับพันธุกรรม หรือที่เรียกว่าภาวะ Mosaicism ซึ่งคือปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งหรือภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ การทำความเข้าใจภาวะนี้จะช่วยให้คู่สมรสสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มโอกาสในการมีบุตรที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น Mosaicism คืออะไร เกิดจากสาเหตุใดบ้าง ? ภาวะ Mosaicism คือความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดจากการที่ตัวอ่อนมีเซลล์มีโครโมโซมปกติและผิดปกติปะปนกัน เช่น บางเซลล์อาจมีโครโมโซมปกติ 46 แท่ง ขณะที่บางเซลล์มีโครโมโซมเกินเป็น 47 แท่ง ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะพัฒนาการของตัวอ่อนและในระยะหลังคลอด โดยความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์ที่มีความผิดปกติและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งอาจส่งผลต่อความสำเร็จของการฝังตัวและพัฒนาการของทารกได้ โดยตัวอ่อนที่มีภาวะนี้จะถูกเรียกว่าตัวอ่อน Mosaic สาเหตุของการเกิดภาวะ Mosaicism ข้อผิดพลาดในการแบ่งตัวของเซลล์ (Mitotic Errors) มักเกิดในช่วงแรกของการแบ่งเซลล์ มีสาเหตุจากหลายกลไก เช่น โครโมโซมบางส่วนไม่เคลื่อนเข้าสู่เซลล์อย่างถูกต้องระหว่างการแบ่งตัว จนเกิดการสูญเสียโครโมโซมบางส่วน การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมระหว่างหรือหลังการปฏิสนธิ เกิดได้ทั้งจากความผิดปกติของ DNA เอง หรือมีสิ่งเร้าภายนอกมากระตุ้น เช่น ควันบุหรี่ สารเคมี อายุของมารดา เนื่องจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมในไข่ สิ่งแวดล้อมและความเครียดของเซลล์ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ความเครียดจากออกซิเดชัน หรือการสัมผัสสารเคมี อาจกระตุ้นให้เกิดความเสียหายของ DNA หรือรบกวนการแบ่งตัวของเซลล์ได้ ผลกระทบของตัวอ่อนที่มีภาวะ Mosaicism กับการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารก แม้ว่าตัวอ่อนจะมีภาวะ Mosaicism ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นตัวอ่อนที่ไม่สามารถใช้การได้เสมอไป เพียงแต่อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารก ดังนี้ 1. ความสามารถในการฝังตัวลดลง ภาวะ Mosaicism อาจส่งผลให้ตัวอ่อนมีโครงสร้างของเซลล์ที่ไม่สมดุล จึงรบกวนกระบวนการพัฒนาระยะต้น ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกอาจไม่ตอบสนองต่อการฝังตัวได้เต็มที่ อาจเสี่ยงต่อการฝังตัวไม่สำเร็จได้ 2. ความเสี่ยงต่อการแท้งเพิ่มขึ้น ความไม่สมบูรณ์ภายในเซลล์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์หยุดชะงัก โดยเฉพาะกรณีที่ระดับของเซลล์ผิดปกติมีมากเกินกว่า 50%...

แพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน

รวมข้อปฏิบัติการดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อน เพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

ในการทำเด็กหลอดแก้ว หนึ่งในขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างมากคือกระบวนการย้ายตัวอ่อน เพื่อนำไปฝังสู่โพรงมดลูก ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลตัวเองเป็นพิเศษ เพราะมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนโดยตรง ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคุณแม่ เราจะขอมาแนะนำข้อควรปฏิบัติและเรื่องน่ารู้หลังใส่ตัวอ่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สำเร็จ หลังใส่ตัวอ่อนกี่วันฝังตัว ? ปกติแล้วตัวอ่อนจะใช้เวลาฝังตัวประมาณ 1-2 วัน หลังจากการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก โดยตัวอ่อนจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปยังผนังมดลูกและเริ่มกระบวนการฝังตัว ซึ่งหลังจากตัวอ่อนฝังตัวแล้ว ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มผลิตฮอร์โมน HCG ที่สามารถตรวจพบได้ในการทดสอบการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการฝังตัวอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจใช้เวลาน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ก็ได้   ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการฝังตัวอ่อน โอกาสสำเร็จในการฝังตัวอ่อนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ที่พบได้หลัก ๆ มีดังนี้ อายุของแม่ อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการฝังตัวของตัวอ่อน โดยผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี มักมีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์สูงกว่า เนื่องจากคุณภาพภายในมดลูกและตัวอ่อนยังคงมีความสมบูรณ์อยู่ แต่เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็จะเสื่อมคุณภาพลดลงตามธรรมชาติ เช่น มีก้อนเนื้องอกหรือมีติ่งเนื้อในโพรงมดลูก หรือจำนวนไข่และคุณภาพไข่ลดลง จนทำให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพแย่ลง ภาวะเหล่านี้ล้วนส่งผลให้โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนลดลงด้วย คุณภาพของตัวอ่อน คุณภาพของตัวอ่อนเป็นอีกปัจจัยสำคัญของกระบวนการนี้ โดยแพทย์จะคัดเลือกตัวอ่อนคุณภาพดี ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์ที่สม่ำเสมอ และมีการพัฒนาตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้การฝังตัวดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการย้าย เพื่อคัดตัวอ่อนที่มีคุณภาพมากที่สุด ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้ประสบความสำเร็จได้ ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกมีผลโดยตรงต่อการฝังตัวของตัวอ่อน โดยความหนาที่เหมาะสมควรอยู่ที่ประมาณ 8-12 มิลลิเมตร ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกบางเกินไปหรือหนาเกินไป จะส่งผลให้โอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนลดลง รวมถึงเยื่อบุโพรงมดลูก ควรมีเลือดไหลเวียนดี เพื่อที่จะหล่อเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตต่อไป อาการหลังใส่ตัวอ่อน ที่ต้องคอยสังเกต หลังใส่ตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป หรือบ่งบอกว่าควรไปปรึกษาแพทย์ ดังนี้ อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังใส่ตัวอ่อน เลือดออกกะปริดกะปรอย ในช่วง 6-12 วันหลังใส่ตัวอ่อน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการฝังตัวของตัวอ่อน (Implantation Bleeding) แต่ไม่ใช่ทุกคนจะมีอาการนี้ อาการปวดหน่วงท้องน้อย คล้ายอาการประจำเดือนจะมา ซึ่งเป็นอาการปกติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและกล้ามเนื้อมดลูก เจ็บเต้านมและรู้สึกตึง...

มูกไข่ตกคือสารคัดหลั่งที่ผลิตจากคอมดลูกในช่วงที่ร่างกายกำลังจะมีการตกไข่ มีลักษณะใส ลื่น ยืดหยุ่น

มูกไข่ตก VS ตกขาว เข้าใจความต่างเพื่อเพิ่มโอกาสมีบุตร

การสังเกตสัญญาณจากร่างกาย เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้ผู้หญิงเข้าใจวงจรการเจริญพันธุ์ของตนเองได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่สมรสที่กำลังวางแผนมีบุตร การสังเกตสารคัดหลั่งจากช่องคลอดเพื่อดูถึงความแตกต่างระหว่าง "มูกไข่ตก" และ "ตกขาว" ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยบ่งชี้ถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ได้ มูกไข่ตกคืออะไร? ความหมายและลักษณะทางกายภาพ มูกไข่ตก (Egg White Cervical Mucus หรือ EWCM) คือสารคัดหลั่งที่มดลูกผลิตออกมาในช่วงที่ร่างกายกำลังจะมีการตกไข่ มีลักษณะคล้ายไข่ขาวดิบ ใส ยืดหยุ่น และลื่น เมื่อใช้นิ้วจับจะสามารถยืดได้และยาวหลายเซนติเมตรโดยไม่ขาด ด้วยลักษณะที่พิเศษนี้ทำให้สามารถแยกแยะมูกไข่ตกออกจากสารคัดหลั่งชนิดอื่น ๆ ได้อย่างชัดเจน บทบาทในการเจริญพันธุ์ มูกไข่ตกมีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการเจริญพันธุ์ ดังนี้ ช่วยให้อสุจิเคลื่อนที่ได้สะดวกขึ้นจากช่องคลอดสู่โพรงมดลูก ด้วยลักษณะที่ลื่นและมีโครงสร้างคล้ายช่องทางเล็ก ๆ ช่วยปกป้องอสุจิจากสภาพแวดล้อมที่เป็นกรดในช่องคลอด ซึ่งโดยปกติแล้วอาจเป็นอันตรายต่ออสุจิได้ เป็นตัวบ่งชี้ว่าร่างกายอยู่ในช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์สูง (Fertile Window) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงที่สุด ช่วงเวลาที่เกิดมูกไข่ตก มูกไข่ตกมักพบได้ในช่วง 1-5 วันก่อนการตกไข่ ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสการตั้งครรภ์สูงที่สุดในรอบเดือน โดยจะมีปริมาณมากที่สุดก่อนวันตกไข่ 1-2 วัน ในรอบเดือนปกติที่มี 28 วัน มูกไข่ตกมักเกิดขึ้นราววันที่ 10-14 ของรอบเดือน แต่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเฉพาะผู้ที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ ตกขาวคืออะไร? ความหมายและลักษณะทางกายภาพ ตกขาว (Vaginal Discharge) เป็นคำเรียกทั่วไปของสารคัดหลั่งจากช่องคลอดที่เกิดขึ้นตลอดรอบเดือนของผู้หญิง มีลักษณะและความเข้มข้นแตกต่างกันไปตามช่วงของรอบเดือน อาจมีสีขาวขุ่น สีเหลืองอ่อน หรือใส ทั้งยังมีความข้นเหลวแตกต่างกัน ตกขาวเป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยทำความสะอาดและป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ประเภทของตกขาวในแต่ละช่วงของรอบเดือน ตกขาวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดรอบเดือน ที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วงหลังมีประจำเดือน : มีลักษณะแห้ง หรือมีน้อยมาก เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่ในระดับต่ำ ช่วงต้นรอบเดือน : เริ่มมีความชุ่มชื้น ข้นเหนียว สีขาวขุ่นหรือเหลืองอ่อน เมื่อระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มเพิ่มขึ้น ช่วงก่อนตกไข่...

วางแผนตั้งครรภ์ เลือกตรวจ NIPT กับ PGT-A ต่างกันอย่างไร?

ระหว่างตรวจ NIPT กับ PGT-A แบบไหนเหมาะกับวางแผนตั้งครรภ์?

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบัน คู่รักที่วางแผนมีบุตรสามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมได้ตั้งแต่ก่อนการฝังตัวของตัวอ่อน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยจะเกิดมาพร้อมสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ การทำความเข้าใจถึงกระบวนการตรวจคัดกรองจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่มีข้อมูลเพียงพอ และสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด การตรวจ NIPT กับ PGT-A คืออะไร ต่างกันอย่างไร ? NIPT และ PGT-A เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในทารกและตัวอ่อนในช่วงกระบวนการตั้งครรภ์ การเลือกว่าจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตรวจและช่วงเวลาที่ต้องการทราบผลลัพธ์ของโครโมโซมที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่มีความมั่นใจมากขึ้นในการตั้งครรภ์และเพิ่มโอกาสให้ทารกเกิดมาด้วยสุขภาพที่แข็งแรง 1. NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) NIPT เป็นการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมที่ใช้เลือดของมารดาเพื่อตรวจหาความผิดปกติโครโมโซมของทารกขณะตั้งครรภ์ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้จะใช้หลักการวิเคราะห์เซลล์ DNA ของทารกที่หลุดเข้ามาในกระแสเลือดของมารดา ทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมบางชนิดได้อย่างแม่นยำ โดยมีข้อดีคือ ปลอดภัย ไม่รุกล้ำร่างกายของคุณแม่และทารก จึงไม่มีความเสี่ยงต่อการแท้ง หรือภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการทางการตรวจ สามารถทำได้ในระยะเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ ทำให้สามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของแม่และทารกได้อย่างเหมาะสม มีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะการตรวจพบภาวะโครโมโซมผิดปกติ เช่น ดาวน์ซินโดรม (Trisomy 21), เอ็ดเวิร์ดซินโดรม (Trisomy 18) และพาทัวร์ซินโดรม (Trisomy 13) ถึงแม้การตรวจด้วยวิธี NIPT จะมีความแม่นยำสูง แต่ก็เป็นเพียงการคัดกรองเบื้องต้น ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยโรคโดยตรง หากพบความผิดปกติ อาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อยืนยันผลลัพธ์ 2. PGT-A (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy) PGT-A เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนก่อนฝังตัวในมดลูก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ICSI หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย โดยใช้เซลล์จากตัวอ่อนอายุ...

คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีน้ำหนักตัวเยอะ จึงส่งผลให้มีลูกยาก

4 แนวทางแก้ปัญหาน้ำหนักตัวเยอะ กลัวมีลูกยากเพื่อคนอยากท้อง

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2566 ระบุว่า ผู้ใหญ่กว่า 1.9 พันล้านคน หรือประมาณ 39% ของประชากรโลก มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินไม่เพียงแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานและโรคหัวใจ แต่ยังส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ของทั้งเพศหญิงและเพศชาย เพราะการมีน้ำหนักตัวเยอะ มีความเกี่ยวข้องกับภาวะมีลูกยากโดยตรง ดังนั้น การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรและส่งเสริมสุขภาพโดยรวมในระยะยาว ภาวะอ้วนที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในเพศชาย ทุกครั้งที่มีคำถามว่า “คนอ้วนมีลูกยากไหม ?” คนส่วนใหญ่มักพุ่งเป้าไปที่ปัญหาการมีน้ำหนักเกินของฝ่ายหญิงก่อนเสมอ แต่รู้หรือไม่ว่าภาวะอ้วนในฝ่ายชาย ก็ส่งผลต่ออัตราความสำเร็จในการปฏิสนธิและตั้งครรภ์เช่นกัน โดยหลัก ๆ เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ คุณภาพของอสุจิลดลง ผู้ชายที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มที่คุณภาพของอสุจิจะลดลง ทั้งในแง่ของความเข้มข้นและจำนวนของอสุจิ การเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไม่พบอสุจิในน้ำเชื้อ นอกจากนี้ ภาวะอ้วนยังส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงและทำให้ระดับเอสโตรเจนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อกระบวนการสร้างอสุจิของเพศชาย  ความร้อนสะสมในถุงอัณฑะ ภาวะอ้วนยังจะทำให้เกิดไขมันสะสมบริเวณขาหนีบและรอบถุงอัณฑะ ส่งผลให้อุณหภูมิในถุงอัณฑะสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลเสียต่อกระบวนการสร้างอสุจิ ทำให้ประสิทธิภาพในการเคลื่อนที่ลดลง และอสุจิมีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ภาวะอักเสบและออกซิเดชันของอสุจิ สุดท้าย การมีน้ำหนักตัวเยอะจะส่งผลต่อการอักเสบในร่างกายและปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงเป็นการทำลายเซลล์อสุจิ หรือทำให้ DNA ในอสุจิเสียหาย และลดความสามารถในการเคลื่อนที่และการเจาะเซลล์ไข่ นำไปสู่โอกาสในการปฏิสนธิที่น้อยลง   ภาวะอ้วนที่ส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ในเพศหญิง สำหรับฝ่ายหญิงที่กังวลว่าคนอ้วนท้องได้ไหม นี่คือ 4 ความเกี่ยวข้องระหว่างความอ้วนและระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์    การทำงานของฮอร์โมนผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งผลิตจากเนื้อเยื่อไขมัน อาจก่อให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ สิวขึ้น ขนดก และมีบุตรยาก การตกไข่ผิดปกติและรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ การทำงานผิดปกติของฮอร์โมนจากภาวะอ้วนส่งผลให้เกิด ภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง (Anovulatory Infertility) รวมทั้งประจำเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนเว้นช่วงนาน มาห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิน 6–8 ครั้งต่อปี ภาวะอักเสบเรื้อรังที่มีผลต่อมดลูก ภาวะอ้วนสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้สภาพแวดล้อมในมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น...

ภาวะตัวอ่อนโมเซอิก กระทบการตั้งครรภ์จริงหรือไม่

รู้จักตัวอ่อนโมเซอิก (Mosaicism) ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์

สำหรับคู่แต่งงานที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์ อย่างการทำเด็กหลอดแก้ว ด้วยกระบวนการ ICSI หากในขั้นตอนการทำ เกิดตรวจพบภาวะตัวอ่อนโมเซอิก (Mosaicism) อาจส่งผลต่อโอกาสความสำเร็จของการตั้งครรภ์และสุขภาพของทารกในอนาคตได้ ตัวอ่อนโมเซอิก (Mosaicism) คืออะไร? ตัวอ่อนโมเซอิก (Mosaicism) คือ ภาวะตัวอ่อนมีเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกันภายในตัวอ่อนเดียวกัน ซึ่งหมายความว่า บางเซลล์มีโครโมโซมปกติ ในขณะที่บางเซลล์มีความผิดปกติของโครโมโซม ซึ่งเกิดจากการแบ่งเซลล์ที่ผิดปกติในระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อน โดยตัวอ่อนที่ผ่านการตรวจโครโมโซม มีโอกาสตรวจพบภาวะโมเซอิกประมาณ 10-20% แม้ภาวะนี้จะดูมีความผิดปกติ แต่ตามหลักฐานทางการแพทย์แสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อนที่มีภาวะ Mosaicism สามารถพัฒนาไปเป็นทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงได้ เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกทางธรรมชาติของร่างกาย ที่ทำให้เซลล์ที่มีโครโมโซมปกติ (Euploid) เติบโตต่อไป ในขณะที่เซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ (Aneuploid) จะหยุดการเจริญเติบโต และถูกจำกัดให้อยู่ในส่วนของรกเท่านั้น ภาวะตัวอ่อนโมเซอิก เกิดขึ้นได้อย่างไร ? ภาวะตัวอ่อนโมเซอิก เกิดจากความผิดพลาดในการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อนในระยะเริ่มต้นหลังจากการปฏิสนธิ เมื่อเซลล์แบ่งตัวในระหว่างการพัฒนา ตัวอ่อนอาจเกิดข้อผิดพลาดในกระบวนการแบ่งเซลล์ จนทำให้เกิดเซลล์ที่มีจำนวนโครโมโซมแตกต่างกันออกมาในตัวอ่อนบางส่วน  ในระหว่างการพัฒนาของตัวอ่อน เซลล์ที่มีโครโมโซมผิดปกติอาจมีจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของกระบวนการแบ่งเซลล์ในช่วงเวลานั้น หรืออาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการแบ่งเซลล์ เป็นต้น ระดับของตัวอ่อนโมเซอิก (Mosaicism Levels) Low Mosaic (โมเซอิกระดับต่ำ) ตัวอ่อนมีเซลล์ที่ผิดปกติน้อยกว่า 30% ของเซลล์ทั้งหมด ซึ่งมีโอกาสฝังตัวและพัฒนาต่อเป็นทารกที่แข็งแรงได้สูง Medium Mosaic (โมเซอิกระดับปานกลาง) ตัวอ่อนมีเซลล์ผิดปกติระหว่าง 30-50% ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการฝังตัวและพัฒนาการของตัวอ่อน แต่ยังมีโอกาสตั้งครรภ์สำเร็จ High Mosaic (โมเซอิกระดับสูง) ตัวอ่อนมีเซลล์ผิดปกติมากกว่า 50% ซึ่งโอกาสที่ตัวอ่อนจะฝังตัวสำเร็จจะมีลดลง หรือหากตั้งครรภ์สำเร็จก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อความผิดปกติของทารก ควรเลือกย้ายฝังตัวอ่อนที่มีภาวะโมเซอิกหรือไม่ ? ในบางกรณี เมื่อตรวจตัวอ่อนแล้วพบว่า...

ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx) คือภาวะที่ท่อนำไข่อุดตันและบวมพองเพราะมีของเหลวใสสะสมอยู่ภายใน

ท่อนำไข่บวมน้ำ ภาวะที่ควรรู้จักสำหรับผู้วางแผนมีบุตร

หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่า สาเหตุหนึ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความล้มเหลวในการตั้งครรภ์ คือภาวะ "ท่อนำไข่บวมน้ำ" หรือ Hydrosalpinx ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยแต่มักถูกมองข้าม ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีการวินิจฉัยและรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยให้ผู้มีภาวะนี้สามารถมีบุตรได้ ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx) คืออะไร ? ท่อนำไข่บวมน้ำ (Hydrosalpinx) คือภาวะที่ท่อนำไข่เกิดการอุดตันและบวมพอง มีของเหลวใสสะสมอยู่ภายใน ส่งผลให้ปลายท่อนำไข่ปิดและไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการตั้งครรภ์ เนื่องจากท่อนำไข่เป็นอวัยวะสำคัญในกระบวนการสืบพันธุ์ของเพศหญิง ในภาวะปกติ ท่อนำไข่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางให้ไข่เดินทางจากรังไข่ไปยังมดลูก และเป็นสถานที่สำหรับการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ แต่เมื่อท่อนำไข่บวมน้ำ จะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์หลายประการ ได้แก่ ไข่ไม่สามารถเดินทางจากรังไข่ไปยังมดลูกได้ อสุจิไม่สามารถเข้าถึงไข่เพื่อปฏิสนธิได้ สารจากของเหลวที่สะสมอยู่ในท่อนำไข่ อาจมีผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูก สาเหตุของภาวะท่อนำไข่บวมน้ำ ภาวะท่อนำไข่บวมน้ำเกิดจากการอักเสบและการติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (PID) จากเชื้อแบคทีเรียหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน หรือคลามิเดีย การผ่าตัดในช่องท้องหรืออุ้งเชิงกราน ซึ่งอาจทำให้เกิดพังผืดที่มาเกาะรอบท่อนำไข่ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) ที่ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดพังผืดรอบ ๆ ท่อนำไข่ การติดเชื้อวัณโรคในระบบสืบพันธุ์ ซึ่งพบได้ในบางบริเวณ ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่อาจทำให้ท่อนำไข่เกิดความเสียหาย ได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณอุ้งเชิงกราน ที่ส่งผลต่อโครงสร้างของท่อนำไข่ อาการและสัญญาณของท่อนำไข่บวมน้ำ ภาวะท่อนำไข่บวมน้ำอาจไม่แสดงอาการชัดเจน ทำให้หลายคนไม่รู้ตัว จนกระทั่งพบปัญหาในการตั้งครรภ์ สำหรับอาการที่พบได้และอาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะนี้ ได้แก่ ปวดท้องน้อยเรื้อรังหรือเป็นพัก ๆ โดยเฉพาะบริเวณด้านข้างของท้องน้อย ปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia) ซึ่งอาจเกิดจากการอักเสบหรือการระคายเคืองในบริเวณอุ้งเชิงกราน ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือมีเลือดออกผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นผลจากความผิดปกติในระบบฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง มีตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ มีไข้หรืออาการปวดท้องรุนแรงในกรณีที่มีการติดเชื้อเฉียบพลัน พยายามมีบุตรไม่สำเร็จเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่ท่อนำไข่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ ท่อนำไข่บวมน้ำมีลูกได้หรือไม่ ? แม้ว่าภาวะท่อนำไข่บวมน้ำจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการตั้งครรภ์ แต่ด้วยการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่เหมาะสม ผู้หญิงที่มีภาวะนี้ยังมีโอกาสมีบุตรได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ความรุนแรงของภาวะ ท่อนำไข่บวมน้ำทั้งสองข้างหรือข้างเดียว...