
คุณภาพของอสุจิไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ปริมาณหรือรูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสมบูรณ์ของโครงสร้างภายใน โดยเฉพาะภาวะการแตกหักของสารพันธุกรรมภายในอสุจิ (DNA Fragmentation) ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการปฏิสนธิ และการพัฒนาของตัวอ่อน เพราะถ้าอสุจิเกิดความเสียหายตั้งแต่ระดับ DNA ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งหรือการตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ได้
เทคนิค MACs Sperm ถือเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพ เพราะช่วยเพิ่มโอกาสในการคัดกรองอสุจิที่มีภาวะการแตกหักของดีเอ็นเอในอสุจิ (Sperm DNA Fragmentation) โดยอาศัยการแยกอสุจิที่แสดงสัญญาณของการเข้าสู่กระบวนการตายตามธรรมชาติ (Apoptosis) ออกไป
อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีอาจยังพบค่าการแตกหักของ DNA ในอสุจิยังอยู่ในระดับสูง แม้จะเป็นเคสที่เกิดได้น้อย แต่ก็ควรศึกษาเพื่อวางแผนการดูแลภาวะเจริญพันธุ์ให้ครอบคลุม และอาจต้องผสานหลายแนวทางร่วมกัน เพื่อยกระดับคุณภาพของเซลล์อสุจิและเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการมีบุตรอย่างยั่งยืน
MACs Sperm เทคนิคคัดกรองอสุจิ ค้นหา DNA Fragmentation
MACs Sperm (Magnetic-Activated Cell Sorting) คือ เทคนิคคัดอสุจิที่ทันสมัย ซึ่งไม่เพียงแต่อาศัยคุณสมบัติทางกายภาพเท่านั้น แต่ยังเจาะจงไปที่เครื่องหมายทางชีวภาพ (biomarkers) บนพื้นผิวของเซลล์อสุจิโดยเฉพาะ
โดยเทคนิคนี้จะใช้เม็ดบีดแม่เหล็กขนาดเล็กที่เคลือบด้วยสารพิเศษ ซึ่งจะจับกับเครื่องหมายทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงเซลล์อสุจิที่กำลังเข้าสู่กระบวนการตายตามธรรมชาติ (Apoptosis) ทำให้สามารถใช้สนามแม่เหล็กดึงแยกอสุจิที่ไม่สมบูรณ์เหล่านี้ออกไปได้
ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือการคัดแยกกลุ่มของอสุจิที่ยังคงมีคุณภาพดีเยี่ยม และมีสารพันธุกรรมที่สมบูรณ์กว่ามาก ด้วยเหตุนี้ MACs จึงถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จของกระบวนการช่วยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะในคู่สมรสที่มีภาวะมีบุตรยาก
ประโยชน์ของการใช้เทคนิค MACs Sperm
MACs Sperm เป็นการคัดเลือกอสุจิในระดับโมเลกุล แตกต่างจากเทคนิคทั่วไป ที่อาศัยความหนาแน่นและการเคลื่อนไหวของอสุจิเป็นหลัก จึงทำให้ประโยชน์ที่โดดเด่นและมีประสิทธิภาพกว่า ดังนี้
- เพิ่มโอกาสเลือกใช้อสุจิที่ยังคงมีศักยภาพในการปฏิสนธิ
- ลดอัตราการใช้เซลล์อสุจิที่เสื่อมสภาพหรือไม่สมบูรณ์
- ช่วยให้กระบวนการ ICSI มีแนวโน้มประสบความสำเร็จมากขึ้น
ข้อจำกัดที่ควรรู้ก่อนทำ MACs Sperm
แม้เทคนิค MACs Sperm จะช่วยปรับปรุงคุณภาพของอสุจิที่ใช้ในการรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ควรทำความเข้าใจ ดังนี้
- MACs Sperm คัดกรองเฉพาะอสุจิที่เข้าสู่กระบวนการ Apoptosis ในกรณีที่มีอสุจิเสื่อมสภาพแต่ไม่แสดงสัญญาณ อาจไม่สามารถตรวจจับได้
- ประเภทของความเสียหายต่อ DNA ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ MACs Sperm ทั้งแบบ Single-strand break ละ Double-strand break ซึ่งอาจส่งผลต่ออสุจิ ทำให้ไม่กระตุ้นการเกิดสัญญาณ Apoptosis และทำให้ไม่สามารถตรวจคัดกรองได้
- ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลกระทบต่อ DNA อสุจิ เช่น ภาวะความเครียดออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ในร่างกาย อายุ หรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
นอกจากนี้ ในบางกรณีที่ยังมีค่า DNA Fragmentation สูง อาจต้องมีการผสานวิธีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การปรับพฤติกรรม การใช้สารต้านอนุมูลอิสระ ตลอดจนเทคนิคทางการแพทย์อื่น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับการมีบุตร
เทคนิคอื่น ๆ ที่นำมาใช้ร่วมกับการทำ MACs Sperm เพื่อช่วยคัดกรองอสุจิคุณภาพ
อย่างที่กล่าวไปว่า หากต้องการรักษาภาวะมีบุตรยากให้เป็นไปตามเป้าหมาย อาจต้องใช้เทคนิคอื่น ๆ ในการคัดกรองอสุจิร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น
PICSI (Physiological ICSI)
PICSI (Physiological ICSI) เป็นวิธีที่ช่วยคัดเลือกอสุจิจากความสามารถตามธรรมชาติในการจับกับ Hyaluronic Acid ซึ่งจะเป็นการจำลองเยื่อหุ้มไข่ ทำให้สามารถเลือกอสุจิที่โตเต็มวัยและมี DNA ที่สมบูรณ์
การผสมผสานหลายเทคนิคเข้าด้วยกันอาจดูซับซ้อน แต่มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มโอกาสความสำเร็จของกระบวนการ ICSI โดยเฉพาะในกรณีที่เคยมีการแท้งซ้ำ หรือไม่ประสบความสำเร็จในการรักษาภาวะมีบุตรยากในรอบก่อน ๆ
ความสำคัญของการฟื้นฟูคุณภาพอสุจิระยะยาว ควบคู่การใช้เทคโนโลยี
แม้จะมีเทคโนโลยีช่วยคัดกรองอสุจิที่มีคุณภาพ และสามารถช่วยเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิได้ แต่การดูแลคุณภาพของอสุจิจากภายในร่างกายก็เป็นเรื่องพื้นฐานที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้น การฟื้นฟูสุขภาพอสุจิในระยะยาวจึงควรทำควบคู่กันไปด้วย
แนวทางการฟื้นฟูคุณภาพอสุจิในระยะยาว
- ปรับพฤติกรรมเพื่อช่วยลดภาวะ Oxidative Stress เช่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นออกกำลังกาย และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดการเกิดสารอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด DNA Fragmentation ในอสุจิ
- การใช้สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant Supplements) ด้วยการรับประทานวิตามินหรือสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น Coenzyme Q10, Zinc, Vitamin C และ Vitamin E อย่างเหมาะสมและต่อเนื่องภายใต้คำแนะนำของแพทย์ เพราะสารสำคัญเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ชายและลดความเสียหายของ DNA ในอสุจิ
- วางแผนช่วงเวลาสำหรับการเก็บตัวอย่างอสุจิ โดยจะอยู่ในช่วงที่ร่างกายได้รับการปรับสมดุลอย่างเหมาะสม เช่น หลังจากดูแลสุขภาพต่อเนื่อง 2–3 เดือน อาจให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการนำไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
- ปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์เพื่อออกแบบแผนเฉพาะบุคคล เพื่อช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและระดับความเสียหายของ DNA อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถประเมินผลในระยะยาวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
การคัดเลือกอสุจิที่มีคุณภาพดีเยี่ยมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จในการมีบุตร แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การวางแผนอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การตรวจสุขภาพอสุจิ วิเคราะห์ความเสี่ยงจาก DNA Fragmentation ไปจนถึงการเลือกใช้เทคนิคเสริมที่เหมาะสม หากคุณกำลังมองหาโรงพยาบาลรักษามีบุตรยาก VFC Center ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร (V Fertility Center) พร้อมช่วยดูแลคุณ นัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์ของเราวันนี้ เพื่อเริ่มต้นเส้นทางสู่การมีบุตรที่สมบูรณ์แข็งแรง
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ ได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline: 082-903-2035
LINE Official: @vfccenter

ทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านสูตินรีเวชวิทยาและเวชศาตร์การเจริญพันธ์ุ
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.