
รู้หรือไม่ ? โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารหนู สามารถสะสมในร่างกายจากผ่านทางอาหาร อากาศ และสิ่งแวดล้อม ยิ่งถ้าสะสมในร่างกายและไม่สามารถขับออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจส่งผลกระทบต่อระบบฮอร์โมนและการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ได้
มาทำความเข้าใจถึงอันตรายของโลหะหนักในร่างกาย และแนวทางการลดความเสี่ยงเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตรอย่างปลอดภัยกัน !
โลหะหนักคืออะไร พบได้จากที่ไหนบ้าง ?
โลหะหนัก คือ ธาตุที่มีความหนาแน่นสูงและเป็นพิษต่อร่างกายหากสะสมในปริมาณมาก เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารหนู โดยสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งการหายใจ การรับประทานอาหาร และการดูดซึมผ่านผิวหนัง
แหล่งที่มาของโลหะหนักในชีวิตประจำวัน ได้แก่
- อาหารและน้ำดื่ม: เช่น อาหารทะเลที่มีสารปรอทสูง (ปลาทูน่า ปลาอินทรี) ผักผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้าง หรือแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน
- อากาศ: ฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากรถยนต์ หรือการเผาขยะ
- ของใช้ใกล้ตัว: เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน สีทาบ้าน ภาชนะโลหะเก่า หรือแบตเตอรี่เสื่อมสภาพ
เมื่อโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย มักจะสะสมอยู่ในตับ ไต และระบบประสาท หากสะสมมากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยเฉพาะระบบสืบพันธุ์
โลหะหนักในร่างกาย ส่งผลอย่างไรต่อภาวะเจริญพันธุ์ ?
การสะสมของโลหะหนักในร่างกายมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบสืบพันธุ์และความสามารถในการมีบุตร ดังนี้
ผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศหญิงและชาย
โลหะหนัก เช่น ตะกั่วและปรอท สามารถรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุลทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยในผู้หญิงอาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติ การตกไข่ไม่สม่ำเสมอ ส่วนในผู้ชายอาจทำให้การผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลง
ผลกระทบต่อไข่และสเปิร์ม
การสะสมของโลหะหนักมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของไข่และสเปิร์ม โดยส่งผลให้:
- ผู้หญิง: คุณภาพของไข่ลดลง รังไข่เสื่อมเร็วกว่าปกติ และมีปัญหาในการฝังตัวของตัวอ่อน
- ผู้ชาย: จำนวนสเปิร์มลดลง การเคลื่อนไหวของสเปิร์มผิดปกติ และรูปร่างของสเปิร์มผิดปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก
ความเสี่ยงต่อการแท้งและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
แม้จะสามารถตั้งครรภ์ได้ แต่หากมีโลหะหนักสะสมในร่างกายมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร รวมถึงการคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์
นอกจากนี้ โลหะหนักบางชนิดยังสามารถผ่านรกไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ส่งผลต่อพัฒนาการของสมองและระบบประสาทของทารก
อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีโลหะหนักสะสมในร่างกาย
แม้จะไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่หากมีโลหะหนักสะสมในร่างกายมากขึ้น อาจเริ่มมีอาการเหล่านี้:
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- ความจำเสื่อม หรือสมาธิไม่ดี
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรัง
- เกิดภูมิแพ้หรือมีผื่นผิวหนังที่ไม่ทราบสาเหตุ
- นอนไม่หลับ หรือคุณภาพการนอนไม่ดี
หากมีอาการเหล่านี้ร่วมกับภาวะมีบุตรยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและระดับโลหะหนักในร่างกาย
การตรวจโลหะหนักในร่างกายมีวิธีใดบ้าง ?
- การตรวจเลือด (Blood Test): เป็นวิธีที่นิยมและแม่นยำ ใช้วัดระดับโลหะหนักต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม สารหนู และอื่น ๆ ในกระแสเลือด
- การตรวจปัสสาวะ (Urine Test): ใช้วัดการขับโลหะหนักออกจากร่างกาย เช่น ตะกั่ว เพื่อประเมินการสะสมและการขับสารพิษ
- การตรวจเหงื่อ (Sweat Test): บางกรณีใช้วัดโลหะหนักที่ขับออกทางเหงื่อ
การล้างโลหะหนักในร่างกาย
หากสงสัยว่าร่างกายอาจมีโลหะหนักสะสมมากเกินไป การล้างหรือขับสารพิษให้ออกจากร่างกายก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ควรนำไปปรับใช้ ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy)
เป็นการใช้สารเคมีช่วยจับและขับโลหะหนักออกทางหลอดเลือด ซึ่งเป็นวิธีที่แพทย์แนะนำในกรณีที่มีการสะสมโลหะหนักในระดับสูง
2. รับประทานอาหารที่ช่วยดีท็อกซ์โลหะหนัก
การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น กระเทียม ขมิ้นชัน ผักใบเขียว และผลไม้ที่มีเพกติน ซึ่งมีคุณสมบัติในการจับโลหะหนักและช่วยขับออกทางระบบขับถ่าย ลดการสะสมของสารพิษและโลหะหนักในร่างกายได้
3. เสริมด้วยวิตามินและสารอาหารที่ช่วยขับสารพิษ
ไม่ว่าจะเป็นวิตามินซี กรดอะมิโนเมไทโอนีน และอาหารที่มีกำมะถัน เช่น บรอกโคลี กระเทียม เพื่อกระตุ้นการสร้างสารที่ช่วยจับและขับโลหะหนักออกจากร่างกาย ทำให้ระบบขับสารพิษทำงานได้ดีขึ้น
วิธีป้องกันการสะสมของโลหะหนักในร่างกาย
การป้องกันย่อมดีกว่าการรักษา การลดการสัมผัสกับโลหะหนักในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ดังนี้
1. ระมัดระวังเรื่องอาหารและน้ำดื่ม
- หลีกเลี่ยงการรับประทานปลาทะเลที่มีการสะสมของปรอทสูง เช่น ปลาทูน่า ปลาดาบ ปลาอินทรี หรือหากรับประทาน ควรจำกัดปริมาณ
- เลือกรับประทานผักและผลไม้อินทรีย์ที่ปลอดสารเคมี และล้างให้สะอาดก่อนรับประทาน
- ติดตั้งเครื่องกรองน้ำที่สามารถกรองโลหะหนักได้ โดยเฉพาะในบ้านที่มีท่อประปาเก่า
2. ลดการสัมผัสมลพิษในอากาศ
- สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง หรือเมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน
- ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในบ้านหรือที่ทำงาน โดยเฉพาะในเขตเมืองหรือพื้นที่อุตสาหกรรม
3. ระมัดระวังผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- ตรวจสอบส่วนผสมในเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของโลหะหนัก
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ เพราะอาจมีสารโลหะหนักรั่วซึมออกมา
4. สร้างสุขนิสัยที่ดี
- ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร
- ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำเพื่อลดฝุ่นละอองที่อาจมีโลหะหนักปนเปื้อน
เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ปรึกษาผู้ชำนาญการได้ที่ VFC
หากคุณหรือคู่สมรสมีความกังวลว่า โลหะหนักในร่างกายอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก อย่าปล่อยให้ความไม่แน่ใจส่งผลต่ออนาคตของครอบครัวคุณ
มาเข้ารับคำปรึกษาการมีบุตรยากได้ที่ ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร (V Fertility Center) ศูนย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก ที่ได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีเวชแห่งประเทศไทย ที่ได้รับความไว้วางใจจากคู่สมรสจำนวนมาก
เรายินดีให้คำปรึกษาและดูแลคุณอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การวางแผนตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: เบอร์โทรศัพท์ 082-903-2035
บทความโดย แพทย์ศรมน ทรงวีรธรรม
ติดต่อสอบถามหรือนัดหมายแพทย์ ได้ที่
VFC ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร
Hotline: 082-903-2035
LINE Official: @vfccenter

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติ-นรีเวชวิทยาและเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
No Comments
Sorry, the comment form is closed at this time.